การวิเคราะห์บาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 25
หน้าที่ 25 / 118

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับบาลีไวยากรณ์ในเรื่องนามและอัพยยศัพท์ โดยเริ่มจากการอธิบายถึงการใช้วจนะในวิภัตติทั้ง ๓ หมวด ได้แก่ เสหิ, สก และ อตฺต รวมทั้งการเปรียบเทียบการใช้งานแต่ละคำในบริบทต่างๆ เอกสารยังนำเสนอตัวอย่างคาถาที่เกี่ยวข้องและวิธีการแจกแจงศัพท์พิเศษ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับนามและอัพยยศัพท์จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตามแบบที่แนะนำในเอกสาร รวมทั้งการวิเคราะห์การสมาสที่มีความสำคัญในไวยากรณ์บาลี.

หัวข้อประเด็น

-การวิเคราะห์บาลีไวยากรณ์
-นามและอัพยยศัพท์
-วจนะในวิภัตติ
-การแจกแจงศัพท์พิเศษ
-ตัวอย่างการใช้งาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 24 วจนะในวิภัตติทั้ง ๓ หมวด เช่น เสหิ แปลว่า ของตน ได้ในคาถา ธรรมบทว่า เสหิ กมฺเมหิ ทุมเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปปติ คนมี ปัญญาทรามย่อมเดือดร้อน ดุจถูกไฟไหม้ เพราะกรรมของตน ดังนี้ แปลงเป็น สก ก็มี เมื่อแปลงแล้วแจกตามแบบ อ การันต์ในปุ๋ลิงค์ ใช้ได้ทั้งสองวจนะด้วย สก ที่แปลงมาจาก สย์ มีที่ใช้มากกว่า ส. อตฺต ศัพท์นี้มีอยู่ตามลำพัง ต้องแจกอย่างศัพท์พิเศษดังปรากฏในแบบ เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่นแล้วต้องแจกตามแบบ อ การันต์ในปุลิงค์ โดยมาก. อตฺต ส สก ทั้งสามนี้แปลว่าตนเหมือนกัน แต่นำไปใช้ในที่ ต่างกันกว้างแคบกว่ากัน อตฺต โดยมากใช้เป็นบทนามนาม คือเพียง เป็นบทประธานเท่านั้น ถึงคราวใช้เป็น วิกติกตฺตา ก็ใช้อย่างนามนาม ไม่มีผิดอะไร ส่วน ส หรือ สก นั้น โดยมากใช้เป็นบทคุณ เพื่อ แสดงลักษณะของนามไว้ราบรัดเข้า คือแสดงว่า ของสิ่งนั้นต้องเป็น ของตนจริง ๆ เมื่อแสดงลักษณะของนามนามบทใด ก็ต้องลิงค์ วจนะ วิภัตติ เสมอกันกับนามผู้เป็นเจ้าของทุกแห่งไป อตฺต เมื่อติดต่อศัพท์อื่น ท่านให้แปลง ๆ ที่สุดศัพท์เป็น ร สำเร็จรูป อตฺร เช่น อตุรโช แปลว่า อันว่าบุตรเกิดในตน หรือ อรช์ เกิดในตน ทั้งนี้ปรากฏอยู่ในคาถาธรรมบท ภาค ๖ หน้า ๑๕ ว่า อตฺตนา หิ กติ ปาป์ อรช์ อตฺตสมุภว์, อภิมาภูติ ทุมเมย์, วชิร์ วมุหย์ มณี, ดังนี้เป็นหลักอ้าง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More