อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 66
หน้าที่ 66 / 118

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เสนอการอธิบายถึงบาลีไวยากรณ์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับนามและอัพยยศัพท์ พร้อมทั้งการใช้เลขที่ประเมินสำหรับเอกวจนะและพหุวจนะ โดยยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย เช่น สังขยาที่มีจำนวนที่สุดและการใช้คำว่า อฑฺฒ ในการสร้างจำนวน นอกจากนี้ยังพูดถึงการใช้ปัจจัยในปูรณตัทธิตสำหรับการแสดงจำนวนต่าง ๆ และการจัดเรียงคำในรูปแบบที่ถูกต้อง เช่น ๑๕๐ หรือ ๒,๕๐๐ ซึ่งเป็นการใช้บาลีไวยากรณ์เช่นเดียวกับการใช้สังขยาคุณและนามในประโยค

หัวข้อประเด็น

-อธิบายบาลีไวยากรณ์
-นามและอัพยยศัพท์
-สังขยาคุณ
-เอกวจนะและพหุวจนะ
-การใช้คำว่า อฑฺฒ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 65 อุตฺตร แล้ว อธิก, แต่ต้องถือว่าให้ อุตตร อยู่ใกล้สังขยาคุณ, อธิก อยู่ใกล้สังขยานาม, และบางคราว อธิก จะอยู่ในที่ใกล้กันก็ ใช้ได้. วจนะนั้น ถ้าปรากฏเป็นเลข ๑ ขึ้นหน้า เป็นเอกวจนะอย่างเดียว (แต่ไม่ใช่เอกศัพท์), ถ้าเลขตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป ขึ้นหน้า เป็นพหุวจนะ อย่างเดียว, จำนวนเศษ ไม่ถือเป็นประมาณ เช่น ๑,๕๕๔ เช่นนี้เป็น เอววจนะ, สังขยาคุณจะรวมกันเป็นศัพท์เดียว ดังที่แสดงมานั้นก็ได้ หรือจะแยกออกเป็นจำนวน ๆ ก็ได้. อฑฺฒ ศัพท์ สังขยาที่มีจำนวนที่สุดคือจำนวนหลัง ตั้งแต่ ครึ่งร้อย คือ ๕๐ หรือ ครึ่งพัน คือ ๕๐๐ หรือ ครึ่งหมื่น คือ ๕,๐๐๐ เป็นต้น เพื่อจะ ให้จำนวนหลังเต็ม ท่านนิยมใช้ อฑฺฒ ศัพท์ ประกอบ ส่วนจำนวน ข้างหน้านั้นไม่จำกัดจำนวน เช่น ๑๕๐-๓,๕๐๐-๖,๕๐๐ เป็นต้น เมื่อ ประกอบด้วย อฑฺฒ ศัพท์ ก็ต้องเพิ่มจำนวนข้างหน้าขึ้น เช่น ๑ ต้องเป็น ๒,๓ เป็น ๔, และ ๖ ก็เป็น ๓ เป็นต้น เพราะ อทุฒ แปลว่า กึ่ง หรือ ครึ่ง โดยมากมีสังขยาจำนวนหน้า ลงปัจจัยใน ปูรณตัทธิต คือ ติย, ถ, จ, ม, อี, จึงเป็นเอกวจนะอย่างเดียวตาม ปูรณตัทธิต. ๑๕๐ ประกอบเป็น อาเมน ทุติย์ สติ-ทิยฑฒิสต์ ร้อยที่ ๒ ทั้งกึ่ง (หนึ่งร้อย กับ ครึ่ง คือ ๑๕๐), ๒,๕๐๐ อฑฺเฒน จตุตถ์ สหสฺสํ อฑฺฒฑฺฒสหสฺสํ พันที่ 4 ทั้งกึ่ง (สามพันกับ ครึ่ง คือ ๓,๕๐๐) หรือจะเป็น อฑฺฒจตุตถาสหสฺสํ ก็ได้, ในแบบ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More