อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 81
หน้าที่ 81 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับวิธีการใช้และการแปลนามและอัพยยศัพท์ในภาษาบาลี โดยเฉพาะความสำคัญของคำที่ใช้ในการสนทนา และการใช้สัพพนามในบริบทที่เหมาะสม รวมถึงการเคารพในภาษาเมื่อพูดกับผู้ที่มีอายุมากกว่า เช่น การใช้คำ ตุมห เพื่อแสดงความเคารพต่อคู่สนทนา บทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจแนวทางการใช้ไวยากรณ์บาลีได้ดีขึ้น โดยเน้นที่การใช้งานจริงในบทสนทนาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของบาลีไวยากรณ์
- การใช้สัพพนามในบาลี
- การแสดงความเคารพในภาษา
- การแปลและเข้าใจนามในบาลี
- วิธีการใช้คำในบทสนทนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 79 นามนาม ซึ่งเป็นคู่สนทนา จะเป็นลิงค์อะไร ตุมหอมห ทั้ง ๒ นี้ ก็คงอยู่อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนไปตาม และการแปลก็ออกชื่อ คำแปล ตุมห อมห นั้นโดยตรงกันวิภัตติของตน พร้อมด้วยออก ชื่ออายตนิบาตไปด้วย เช่น ตฺวํ อันว่า ท่าน, ตุมหากิ แห่งท่าน ทั้งหลาย, อหิ อันว่าเรา, อมหาก แห่งเราทั้งหลาย, เป็นต้น ไม่เหมือน ต ศัพท์ที่เป็นสัพพนามด้วยกัน ซึ่งจะต้องให้มี ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ตรงกันกับตัว นามนาม ที่ออกซึ่งถึง และเป็นปุริสสัพพนาม ก็ แปลคล้าย ๆ กับ ตุมห อมุห เช่น โส อันว่า เขา เป็นต้น ถ้า เป็นวิเสสนสัพพนาม ก็แปลว่า นั้น โดยไม่ต้องออกชื่ออายตนิบาต แต่จะต้องโยคตัวนามนามที่กล่าวแล้วข้างต้นมาด้วย เช่น โส นโร อันว่า คนนั้น. อนึ่ง เฉพาะ ตุมห ศัพท์นั้น เมื่อคู่สนทนาจะแสดงความ เคารพ ในเมื่อผู้พูด เป็นผู้น้อย อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ฟัง เป็นผู้ใหญ่ ทางฝ่ายผู้พูดต้องเรียกนามผู้ใหญ่นั้นด้วย ตุมห ที่เป็นพหุวจนะ เช่น ศิษย์เข้าไปพูดกับอาจารย์ว่า (ตุมเห) อปรสสปิ เถรส คุณ ทสฺเสถ แปลว่า ขอท่านจงแสดงคุณของพระเถระรูปอื่นอีก และ โสมทัตได้พูดกับบิดาของเขาว่า ตุฒิเหหิ ราชกุล คนฺตฺวา เอว์ อภิกฺกมิตพฺพ์ แปลว่า อันท่านไปแล้วสู่ราชสกุล จึงก้าวไปข้างหน้า อย่างนี้. ๑. อุภัยพากย์ปริวัตน์ ภาค ๒ ข้อ ๕๐๑ ๒. ธมฺมปทฏฺฐกถา ๕/๑๑๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More