การอธิบายบาลีไวยากรณ์: นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 85
หน้าที่ 85 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับวิธีการใช้ไวยากรณ์บาลีโดยเน้นที่นามและอัพยยศัพท์ เพื่อแสดงถึงการกำหนดแน่นอนของนาม การสร้างวิเสสนะ และการแจกวิภัตติในประโยค การใช้กิริยาในบทที่มีการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน ยืน และนั่ง พบกับตัวอย่างและแนวทางการใช้อย่างถูกต้องในบทเรียน.

หัวข้อประเด็น

-การใช้ไวยากรณ์บาลี
-นามและอัพยยศัพท์
-วิเสสนะในประโยค
-การแจกวิภัตติ
-กิริยาในบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 83 บอกความกำหนดแน่นอนและ ให้รู้ว่านามนามนั้นอยู่ในที่ ใกล้หรือไกล เช่น นั้น (ต), นี้ (อิม), อื่น (อญฺญ) ฯลฯ ซึ่ง จะได้อธิบายต่อไป. ๓. วิเสสนะ ที่เป็น กิริยา เรียก กิริยากิตก์ เฉพาะที่แจก วิภัตติได้ และเป็นกิริยาที่ทำก่อน กิริยาสุดท้ายในประโยคเดียวกัน ตัวอย่างเช่น จูฬปนฺถโก คจฺฉนฺโต สตฺถาร์ ทิสวส อุปสงฺกมิตวา วนทิ พระจุฬปันถกกำลังเดินอยู่ เห็นพระศาสดาแล้ว เข้าไปถวาย บังคม. คจฺฉนฺโต เป็นกิริยากิตก์ จัดเป็นวิเสสนะของนามนาม คือ จูฬปนฺถโก เพราะเป็นกิริยาที่ทำก่อน วนฺทิ อันเป็นกริยาสุดท้าย ในประโยคนั้น, กิริยากิตก์ที่ลง อนุต ปัจจัย แจกด้วยปฐมาวิภัตติ ถ้าอยู่หลังตัวประธาน หน้ากริยาหมายพากย์ ทางสัมพันธ์เรียกว่า อัพภันตรกิริยา โดยมากถ้าเป็นวิภัตติอื่นจากปฐมาวิภัตติ และ ฉัฏฐี วิภัตติที่เป็นกิริยาอนาทร และสัตตมีวิภัตติที่เป็นกิริยาลักขณวันตะ แล้ว เป็นวิเสสนะทั้งสิ้น, วิเสสนะประเภทนี้ สำหรับบอกความเคลื่อน ไหวของนามนาม ให้รู้ว่านามนามนั้นมีอาการอย่างไร เช่น เดิน (คจฺฉนฺต), ยืน (จิต), นั่ง (นิสีทนุต) เป็นต้น. วิเสสนะทั้ง ๓ ประเภทนี้ เมื่อนำไปประกอบกับนามนามบทใด ต้องมี ลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนนามนามบทนั้น จึงเห็นตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ ๑. ธมฺมปทฎฐกถา ๒/๒๑๘.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More