ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑.
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 103
ข้อควรจำในอุปสัค
สำหรับนำหน้านามและกิริยาให้วิเศษขึ้น
๒. เมื่อนำหน้านามมีอาการคล้ายคุณศัพท์ เมื่อนำหน้ากิริยา
มีอาการคล้ายกับกิริยาวิเสสน์
๓. นามนั้นท่านหมายเอาเฉพาะนามนาม ๑ คุณนาม ๑ ส่วน
สัพพนามนำหน้าไม่ได้เลย.
๒. นิบาต
เมื่อเพ่งตามความของศัพท์ว่า นิบาต แปลว่า "ตกลง" คือ
ตกลงหรือสำหรับวางไว้ในระหว่างกลางของศัพท์ทั้งหลาย ดังกล่าว
มาแล้วนั้น ที่วางไว้เช่นนั้น ความประสงค์ก็ต้องการจะทำบทให้
เต็ม และทำเนื้อความให้กระทัดรัดและหนักแน่นเข้า ความจริง ศัพท์
นิบาตทั้งหมดนี้หาได้จำกัดลงในระหว่างทุกศัพท์ไปไม่ บางศัพท์ลงใน
เบื้องต้นแห่งประโยคเช่น ยถา ตถา บางศัพท์ลงในที่สุดประโยคเช่น
อิติ และบางศัพท์ เช่น ปิ อปิ ว อิว เหล่านี้เป็นต้น หาได้อยู่
โดดเดี่ยวตามลำพังไม่ ต้องลงข้างท้ายของศัพท์อื่นเสมอไป เช่น
"อานนฺทตฺเถโรปิ แม้พระอานนท์" หรือ "จกฺกั่ว เพียงดังว่าล้อ."
ศัพท์นิบาตตามที่กล่าวมานี้ เมื่อนำไปใช้แล้ว ย่อมบอกเนื้อ
ความต่าง ๆ กัน เพื่อความไม่ฟั่นเฟือและสะดวกในการนำมาใช้ ท่าน
จึงได้แบ่งไว้เป็นพวกๆ แต่โดยย่อ ซึ่งท่านได้ยกมาแสดงตามที่ปรากฏ
ในแบบดังต่อไปนี้ :-