ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่
โดยตรงคือนามนาม โดยอ้อมคือคุณนามและสัพพนาม และต้อง
ประกอบให้มีลิงค์เป็นอย่างเดียวกันนามนาม ในภาษามคธท่านแบ่ง
คำพูดเป็น ๓ ลิงค์ คือ ปุ๊ลิงค์ เครื่องหมายที่ไม่ใช่เพศชายและเพศหญิง
ถึงจะจัดไว้เป็น ๓ ก็จริง แต่ถึงดังนั้น เมื่อว่าโดยต้นเค้าแล้ว ก็มี
က
เป็น ๒ คือ จัดตามกำเนิดอย่าง ๑ จัดตามสมมติอย่าง ๑. จัดตาม
กำเนิดนั้น ได้แก่จัดตามธรรมชาติของภาวะเช่น ปุริโส ชาย จัดเป็น
ลิงค์ อิตถี หญิง จัดเป็นอิตถีลิงค์ กุล สกุล จัดเป็นนปุสกลิงค์ ที่
จัดตามสมมตินั้นคือจัดนอกธรรมชาติของสิ่งนั้นโดยความนิยมอย่าง ๑
งด.
โดยการันต์คือสระที่สุดศัพท์ ซึ่งขัดกับธรรมชาติอันเป็นภาวะของตน
อย่าง ๑ เช่น ทาโร เมีย คำว่าเมีย แท้จริงเป็นอิตถีลิงค์ แต่สมมติ
ให้เป็นปุ๊ลิงค์ ภูมิ แผ่นดิน ตามธรรมชาติต้องเป็นนปุสกลิงค์ เพราะไม่
ใช่เพศชายหรือหญิง แต่สมมติให้เป็นอิตถีลิงค์ แม้ศัพท์อื่น ๆ ซึ่งมี
นัยเหมือนกัน พึงเข้าใจตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น นามนามเป็นลิงค์
เดียว คือจะเป็นลิงค์ใดลิงค์หนึ่งในลิงค์ทั้ง ๓ เป็นได้เฉพาะลิงค์เดียว
ก็มี เป็น ๒ ลิงค์ คือจะเป็นปุ๊ลิงค์หรือนปุสกลิงค์ แต่จะเป็นอิตถีลิงค์ไม่
ได้ก็มี มูลศัพท์อันเดียวมีรูปอย่างเดียวเปลี่ยนแต่สระที่สุดแห่งศัพท์เป็น
ได้ ๒ ลิงค์ คือจะเป็นปุ๊ลิงค์หรืออิตถีลิงค์ก็ได้ แต่จะเป็นนปุสกลิงค์ไม่
ได้ (อุทาหรณ์ตามแบบ) ส่วนคุณนามและสัพพนามเป็นได้ทั้ง ๓
อนึ่ง มีบทบาลีซึ่งเป็นคำของพระฎีกาจารย์ ในมังคลัตทีปนี
ภาค ๒ หน้า ๔๒๕ ว่า ทีฆรชชนา พนธ์ สกุณ วิย รชชูหตุโก
ลิงค์.
10