ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 46
อิ ทุติยาวิภัตติ เอา อิ เป็น โอ แต่ไม่ต้องลง ส อาคม
ศัพท์มโนคณะ เมื่อต่อเข้าเป็นบทสมาสกับศัพท์อื่นแล้ว ต้อง
เอาสระที่สุดของตนเป็น โอ เหมือนคำว่า มโนคโณ หมู่แห่งมนะ
(ฉ. ตัปปุริสสมาส) เอาสะ อะ ที่ น แห่ง มน ศัพท์ เป็น โอ.
อโยมย์ ของที่บุคคลทำด้วยเหล็ก (ต. ตัปปุริสสมาส) เอา
สระ อะ ที่ ย แห่ง อย เป็น โอ.
ที่ ช
เตโชธาตุ ธาตุคือไฟ (อวธารณ กัมมธารยะ) เอาสระ อะ
ช แห่ง เตช ศัพท์ เป็น โอ.
สิโรรุโห อวัยวะที่งอกบนหัว (ผม) (ส.ตัปปุริสสมาส)
เอาสระ อะ ที่ 5 แห่ง สิร เป็น โอ.
อนึ่ง การแจกวิภัตติศัพท์มโนคณะที่เข้าเป็นบทสมาสกับศัพท์อื่น
นั้น มิได้แจกตามแบบมโนคณะเหมือนที่กล่าวแล้วข้างต้น ท่านให้
แจกตามการันต์และลิงค์ของศัพท์หลังเป็นเกณฑ์ เช่น มโนคโณ ก็
ให้กำหนดว่า คุณ เป็นศัพท์หลังซึ่งเป็น อ การันต์ เป็น ปุ๊ลิงค์ แม้
จะเข้าเป็นบทสมาสกับศัพท์พวก มโนคณะ คือ มน ศัพท์ก็จริง แต่
เมื่อถึงคราวแจกวิภัตติ ก็ต้องรวมเป็นศัพท์เดียวกัน คือ เป็น มโน
คณะ แจกตามแบบ อ การันต์ในลิงค์ เหมือนอย่าง ปุริส
ศัพท์มโนคณะทั้งหมด ซึ่งอยู่ตามลำพัง ยังมิได้ต่อเข้าเป็นบท
เดียวกับศัพท์อื่นนั้น โดยมากเป็น เอาวจนะ อย่างเดียว และไม่
มี อาลปนะ.