ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 44
แต่ในตัปปุริสสมาส ใช้อาลปนะ เป็น มาเต, ธีเต, เหมือนคำว่า
ติสฺสมาเต, เทวมาเต, เทวธีเต, เป็นตัวอย่าง
มโนคณะ
ศัพท์หมู่หนึ่ง ๑๒ ศัพท์ มี มน ศัพท์เป็นต้น เรียกว่า มโนคณะ
เพราะเป็นหมู่แหง มน ศัพท์ เป็น นามนาม โดยแท้ การแจกวิภัตติ
ของศัพท์เหล่านี้ คล้ายกับวิธีแจก อ การันต์ในปุ๋ลิงค์และนปัสกลิงค์
แต่มีแปลกอยู่ ๕ วิภัตติ คือ นา (ต.) กับ สมา (ปญฺ.) เป็น อา
ส. ทั้งสอง (จ.กับ ฉ.) เป็น โอ, สฺมึ เป็น อิน แล้วลงตัวอักษร
ใหม่คือ ส ซึ่งเรียกว่า "ลง ส อาคม" ต่อที่ท้ายศัพท์มโนคณะนี้
จึงเป็น สา เป็น โส เป็น สิ ดังจะแจกให้เห็นเป็นตัวอย่าง
มนศัพท์เป็น ทวิลิงค์ คือเป็น ปุ๊ลิงค์ และ นปุสกลิงค์
มน ศัพท์เป็น ปุ๊ลิงค์ แจกอย่างนี้
เอก. ป. มโน
ท. มน์ (มโน) เหมือน อ การันต์ใน ปุ๊ลิงค์
ต. มนสา
จ. มนโส
ปญฺ. มนสา
} ๕ วิภัตตินี้แปลจาก อ การันต์ ใน ลิงค์
ฉ. มนโส
ส. มนสิ
๑. มโนคณะ พระครูมงคลวิลาส (ลัก โกสโล ) วัดราชาธิวาส เรียบเรียง