อธิบายบาลีไวยากรณ์: วิเสสนสัพพนาม อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 84
หน้าที่ 84 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงวิเสสนสัพพนามในภาษาบาลี ซึ่งมีความสำคัญในการทำให้คำแสดงความแตกต่างระหว่างนามนามต่าง ๆ โดยวิเสสนสัพพนามจะทำหน้าที่ประกอบกับนามเพื่อชี้แจงลักษณะ และให้ผู้เรียนเข้าใจถึงประเภทต่างๆ ของวิเสสนะ ได้แก่ คุณนาม สัพพนาม และกิริยา บทนี้สรุปความหมายของวิเสสนะในแง่ระดับภาษา และการใช้งานในประโยคอย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-วิเสสนสัพพนาม
-คุณนาม
-การแยกความหมาย
-ประเภทของวิเสสนะ
-การใช้ในประโยค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 82 วิเสสนสัพพนามนี้ ไม่ได้เป็นคำพูดที่ใช้แทนตัวนามนามโดยตรง ทีเดียว มีลักษณะคล้าย ๆ กับคุณนาม แต่ก็ไม่ได้เป็นคุณนามแม้ เพียงโดยปริยาย เมื่อใช้ประกอบเข้ากับนามนามตัวใด ก็มุ่งหมาย เพื่อให้นามนามตัวนั้นปรากฏแน่ชัดขึ้น ทั้งเป็นการแสดงให้รู้ความ ต่างกันแห่งนามนามนั้นกับนามนามอื่น ซึ่งได้ออกชื่อมาแล้วด้วย ฉะนั้น เพื่อจะให้ทราบความต่างกันในข้อนี้ จึงสมควรที่จะทำความเข้าใจใน คำว่า วิเสสนะ เสียก่อน วิเสสนะ คำนี้ ถ้าแปลเป็นภาษาไทย ก็ต้องเขียนเป็น วิเสสน์ แปลว่า การแยก การทำให้แตกต่าง หรือทำให้จะแจ้ง หมายความว่า เป็น คำจำพวกที่ใช้ประกอบคำอื่น ให้มีเนื้อความแปลพิเศษออกไปโดย ชัดเจน จัดประเภทออกเป็น ๓ คือ เป็นคุณ ๑ สัพพนาม ๑ กิริยา (กิตก์) ๑. ๑. วิเสสนะ ที่เป็นคุณ เรียก คุณนาม สำหรับประกอบกับ นามนาม บอกลักษณะของนามนามนั้นให้รู้ว่าดีหรือชั่วอย่างไร เช่น เขียว (นีล), ดี (สุนฺทร), ใหญ่ (มหนฺต), ฯลฯ แม้ศัพท์สังขยา ที่เป็นคุณนาม ก็สงเคราะห์เข้าในวิเสสนะประเภทนี้เหมือนกัน ดังที่ ได้อธิบายมาในตอนต้นนั้นแล้ว ๒. วิเสสนะ ที่เป็นสัพพนาม เรียก วิเสสนสัพพนาม สำหรับ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More