ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 110
"ทพฺพสมาวาย" เข้ากับกิริยา เรียกว่า "กิริยาสมวาย." นอกจาก
นี้เรียกว่า "กิริยาวิเสสน." ทั้งสิ้น.
๓. ปัจจัย
ปัจจัยในแผนกอัพยยศัพท์นี้ มีหน้าที่ลงท้ายนามศัพท์บ้าง ลง
ท้ายธาตุบ้าง, ลงท้ายนามศัพท์ใช้เป็นเครื่องหมายวิภัตติ ลงท้ายธาตุ
ใช้เป็นเครื่องหมายกิริยา, ปัจจัยแผนกนี้ ต่างจากอุปสัคและนิบาตซึ่ง
กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็คำว่า "ปัจจัยนั้นลงท้ายนามศัพท์" ก็นาม-
ศัพท์หมายเอานามนาม ๑ สัพพนาม ๑ ส่วนคุณนามจะใช้ปัจจัยแผนกนี้
ลงท้ายไม่ได้เลย, ปัจจัยในอัพยยศัพท์ซึ่งจะแสดงต่อไปนี้ จำกัดให้
ลงท้ายของนามนามและสัพพนามเท่านั้น, พึงกำหนดปัจจัยในแผนก
อัพยยศัพท์นี้ให้แม่นยำ ว่ามีหน้าที่ต่อท้ายนามชนิดไหน ใช้แทน
วิภัตติอะไรได้บ้าง และบอกอายตนิบาตว่าอย่างไร ดังจะได้บรรยาย
ต่อไปโดยลำดับ.
ปัจจัยในนามแท้ๆ มี ๒๒ ตัว
โต, ตร, ตก, ห, ธ, ธิ, หี, หู, หิญจน์, ว, ทา, ทานิ,
รหิ, ธนา, ทาจน์, ชุช, ชช, เตว, ๆ, ตูน, ตวา, ควาน
เมื่อแบ่งเป็นพวก มี ๔ พวก คือ
๑. โต ปัจจัย
สำหรับใช้ต่อท้ายนามทั้ง ๒ คือ นามนาม ๑ สัพพนาม ๑
เมื่อต่อท้ายนามทั้ง ๒ เข้าแล้ว ใช้เป็นเครื่องหมายของวิภัตติไว้ ๒