การอธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 62
หน้าที่ 62 / 118

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เป็นการอธิบายบาลีไวยากรณ์ โดยเน้นที่การแจกวิภัตติของศัพท์ที่มีความหมายแตกต่างกัน เช่น นว ที่มีนัยทั้งเป็นสังขยาและเป็นคุณนาม การเข้าใจบทบาทของนามในบาลีช่วยให้เข้าใจลักษณะและการใช้งานของศัพท์ในบริบทต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างการแจกวิภัตติอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างคำว่า นว กับ ปญฺจ ได้ดีขึ้น โดยการศึกษานี้มีความสำคัญในการเรียนรู้บาลีอย่างลึกซึ้ง

หัวข้อประเด็น

- การแจกวิภัตติในบาลี
- ความแตกต่างระหว่างนามและสังขยา
- ความหมายของคำว่า 'นว'
- ตัวอย่างการใช้คำในประโยค
- ความสำคัญของไวยากรณ์บาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 61 จตุปาริสุทฺธิสีลำ เป็นต้น ตั้งแต่ ปญฺจ ถึง ไม่ต้องอธิบาย. อฎ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงอะไร จึง นว ๕ ៩ นว ศัพท์นี้ ถ้าเพ่งตามศัพท์ก็มีนัย ๒ อย่าง เป็นสังขยา จำนวนนับนามนาม ที่แปลว่า ๕ อย่างหนึ่ง เป็นคุณบทของนามนาม ที่แปลว่าใหม่อย่างหนึ่ง จะรู้ได้ว่าเป็นสังขยาหรือเป็นนามนั้น จักรู้ ที่การแจกวิภัตติของศัพท์นั้น นว สังขยาแจกตามแบบ ปญฺจ และ เป็นเครื่องนับจำนวนนามนาม และเป็นพหุวจนะอย่างเดียว ส่วน นว ที่เป็นคุณนามนั้น เป็นเครื่องแสดงลักษณะของนามนาม มี ลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนนามนาม และจัดเป็นเอกวจนะก็ได้ เป็นพหุวจนะก็ได้ เพื่อให้ศัพท์นี้แปลกกัน ท่านนิยมไว้ดังนี้ ถ้าเป็น สังขยา ท่านไม่ลง ก ต่อท้าย ปล่อยไว้เฉย ๆ เช่น นวภิกฺขุ ภิกษุ ท. ๕ รูป ถ้าเป็นคุณนาม ท่านลง ก ต่อท้าย นวโกวาท นวก+โอวาท โอวาทเพื่อภิกษุใหม่ และ นว ที่เป็นคุณนามซึ่งไม่ ใช่สังขยา ถ้าเป็นคุณของนามนามที่เป็นลิงค์ แจกอย่าง ปุริส ถ้าเป็นคุณของนามนามที่เป็นนปุสกลิงค์ แจกอย่าง กุล ถ้าเป็นคุณ ของนามนามที่เป็นอิตถีลิงค์ ต้องทีฆะสระที่สุดเป็น อา แล้วแจกอย่าง กญฺญา. สังขยาจำนวนสับ หรือหลักสิบ คือสังขยาจำนวนที่นับตั้งแต่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More