อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 91
หน้าที่ 91 / 118

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดแน่นอนของเอกในบาลีไวยากรณ์ แยกประเภทของเอกออกเป็นสังขยา และอนิยมวิเสสนสัพพนาม โดยสังขยาจะนับจำนวนของนามนาม ส่วนอนิยมวิเสสนใช้ประกอบกับบทนามเพื่อสละสลวยในการกล่าวถึงในพระสูตรต่างๆ เช่น คำว่า เอก ในพระสูตรไม่ได้มุ่งหมายที่จะนับแต่ใช้เพื่อเสริมสำนวนในข้อความ.

หัวข้อประเด็น

- วีรกรรมของเอกในบาลี
- ความสำคัญของสังขยาในนาม
- การใช้อนิยมวิเสสนสัพพนาม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 89 หาความกำหนดแน่นอนลงไปเดียวไม่ได้ ส่วนคำต่อไปนอกจาก เอก กับ กี๋ มี อญฺญ เป็นต้น ก็มีนัยเดียวกัน เอก ถ้าผู้ศึกษาตรวจดูในข้อ ๒๓-๘๑ เล่มนาม และ อัพยยศัพท์ให้ ตลอดถี่ถ้วน จะเห็นได้ว่า เอก ศัพท์นี้เป็นสังขยาก็ได้ เป็นอนิยม วิเสสนสัพพนาม ก็ได้ เอก ที่เป็นสังขยา เรียกว่า สังขยา สำหรับใช้เป็นเครื่อง กำหนดนับนามนาม โดยมุ่งหมายก็เพื่อจะให้ทราบจำนวนของนามนาม ว่ามีเท่าไร ฉะนั้น เอกสังขยา จึงต้องเป็น คุณนาม และเป็นได้ เฉพาะแต่ เอกวจนะ อย่างเดียว เอก ที่เป็นอนิยมวิเสสนสัพพนาม เรียกว่า เอกสัพพนาม ไม่ได้มุ่งหมายที่จะนับ นามนาม เพื่อให้ทราบจำนวน เป็นแต่เพียงใช้ ประกอบเข้ากับบทนามนาม เพื่อความสละสลวยแห่งสำนวนโวหาร ที่จะกล่าวขึ้นในเบื้องต้นแห่งเรื่องนั้น ๆ ดังจะเห็นได้ในเรื่องพระสูตร ต่าง ๆ มักจะขึ้นต้นว่า (เอวมฺเม สุติ), เอก สมย์ ภควา สาวตฺถิย์ วิหารติ แปลว่า (ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้) สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี ฯลฯ ดังนี้ คำว่า เอก เป็นวิเสสนะ (อนิยมวิเสสนสัพพนาม) ของ สมย์ แต่ไม่ได้ มุ่งหมายที่จะนับ สมัย ว่า หนึ่งสมัย หรือ สองสมัย ฉะนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More