ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 58
สังขยาที่ท่านจัดเป็นสัพพนามก็ดี คุณนามก็ดี มีลักษณะเหมือน
วิเสสนะ คือถ้านามนามเป็นลิงค์วจนะวิภัตติอันใด สังขยาแผนกนี้ต้อง
มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนนามนาม และเรียงไว้ข้างหน้านามนาม
เช่น จตฺตาโร สติปฏฐานา สติปัฏฐาน ๔ จตสุโส อปฺปญฺญฺญาโย
อัปปมัญญา ๔ จตฺตาริ อริยสจฺจานิ อริยสัจ ๔ เว้นไว้แต่สังขยา
ที่ท่านจัดเป็นลิงควิปปลาส และวจนะวิปลาสเท่านั้น คือตั้งแต่ เอกูน-
วีสติ ถึง อฏธนวุฒิ ที่ท่านจัดเป็นอิตถีลิงค์เอกวจนะอย่างเดียว แม้
จะเข้ากับลิงค์อื่นที่เป็นพหุวจนะ ก็ไม่เปลี่ยนไปตาม เช่น ปญฺจตฺตีสาย
ชนานํ ลาโภ อุปฺปนฺโน ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่ชน ท. ๓๕ ปญฺจตฺตีสาย
คงเป็นเอกวจนะอิตถีลิงค์อยู่อย่างเดิม ไม่เปลี่ยนลิงค์แล้วจนะไปตาม
บทนาม คือ ชนาน ซึ่งเป็นปุ๊ลิงค์และพหุวจนะ
ส่วนสังขยานามนาม เมื่อจะใช้บอกนามนามบทใด ก็ให้เอา
นามนามบทนั้นประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติพหุวจนะ เรียงไว้ข้างหน้า
สังขยานามนามนั้น ดังนี้ ภิกขุน สติ ร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย ภิกฺขุน
สหสฺสํ พันแห่งภิกษุทั้งหลาย ซึ่งตรงกับภาษาของเราว่า ภิกษุร้อยรูป
ภิกษุพันรูป.
สังขยาที่ท่านจัดเป็นสัพพนามนั้น เวลาใช้ ให้ใช้อย่างวิเสสน
สัพพนาม.
สังขยาตั้งแต่ เอก จนถึง นว แต่ละศัพท์เรียกว่าจำนวนหน่วย
เหมือนอย่างจะนับตามภาษาไทยว่า หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น