อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 86
หน้าที่ 86 / 118

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายการใช้วิเสสนะในภาษาไทยและภาษาบาลี โดยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการใช้คำวิเสสนะในทั้งสองภาษา เช่น การจัดลำดับคำ การใช้คำกิริยาที่มีเนื้อความแตกต่าง ตลอดจนการเรียกศัพท์ที่ใช้ประกอบกับคำกิริยา การจัดการท่าทางในการเรียนรู้ด้านไวยากรณ์และศัพท์เพื่อความเข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยมีการแสดงตัวอย่างที่ชัดเจนถึงการใช้วิเสสนะ และการแบ่งประเภทต่างๆ ของคำในภาษาไทยและบาลีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-วิเสสนะในภาษาไทย
-วิเสสนะในภาษาบาลี
-เรียงลำดับของนามและวิเสสนะ
-ศัพท์นิบาตและกิริยาวิเสสนะ
-การใช้คำกิริยาในภาษาไทยและบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 84 วิเสสนะ ภาษาไทย ภาษาบาลี ภูเขาใหญ่ มหนฺโต ปพฺพโต ปุ๊. ที่เป็น คุณนาม ชบาเขียว นีลา ชปา อิต. สกุลดี สุนทร์ กุล นปุ๋. ชายนั้น โส ปุริโส ที่เป็น สัพพนาม หญิงนี้ อย อิตถี อิต. ทรัพยอน อญฺญ์ ธน นปุ๊. คนยืน นโร จิโต ที่เป็น กิริยา เด็กหญิงเดิน ทาริกา คจฺฉนฺติ อิต. หญ้างอก ติณ์ รุฬห์ นปุ๋. ตัวอย่างข้างบนนี้เป็นเอกวจนะอย่างเดียว และจะเห็นได้ว่า วิธีเรียกคำที่เป็นวิเสสนะในภาษาไทย กับภาษาบาลีไม่เหมือนกัน คือ ในภาษาไทย วิเสสนะทั้ง ๓ อย่าง อยู่หลังนามนาม แต่ในภาษาบาลี นั้น วิเสสนะที่เป็นคุณกับสัพพนาม โดยมากอยู่ข้างหน้านามนาม ที่ เป็นกิริยา มักจะอยู่ข้างหลังโดยมาก อนึ่ง ศัพท์นิบาตบางศัพท์ ซึ่งใช้ประกอบกับคำกิริยา เพื่อให้มี เนื้อความแปลไปจากปกติ บางแห่งท่านเรียกว่า คุณของกิริยา ก็ จัดเป็น วิเสสนะ ได้เหมือนกัน และเรียกศัพท์เหล่านั้นว่า กิริยาวิเสสน์ หรือ กิริยาวิเสสนะ ตัวอย่างเช่น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More