อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 72
หน้าที่ 72 / 118

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการใช้คำในภาษาบาลี โดยเฉพาะคำว่า 'ปุริโส' ซึ่งเป็นสาธารณะโวหารที่ไม่จำกัดเพศและฐานะ อธิบายถึงการแบ่งประเภทบุรุษในไวยากรณ์บาลี รวมถึงการใช้ปุริสสัพพนามที่มีการจัดแบ่งตามหลักทางไวยากรณ์อย่างชัดเจน โดยเน้นว่าสามารถใช้ได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง และมีความสำคัญต่อการสนทนาและการเข้าใจในพระพุทธศาสนา ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน.

หัวข้อประเด็น

-การใช้คำในภาษาบาลี
-ปุริโสในพุทธศาสนา
-การแบ่งประเภทบุรุษในไวยากรณ์บาลี
-ความสำคัญของการสื่อสารในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 71 แต่พวกบุรุษฝ่ายเดียวเท่านั้น หาได้เกี่ยวข้องไปถึงฝ่ายผู้หญิงไม่ แต่ ถ้าใครเข้าใจเช่นนั้น ก็นับว่าเข้าใจผิดถนัด เพราะพระพุทธภาษิต หรือ พุทธศาสนา ย่อมประกาศเผยแพร่ให้ทุกคน ไม่จำกัดเพศภูมิ ฐานะและวัย ปฏิบัติตามได้ทั้งนั้น ดังที่เราเข้าใจกันอยู่แล้ว ฉะนั้น รวมใจความว่า ปุริโส คำนี้เป็นสาธารณะโวหารที่นิยมใช้อยู่ในภาษา บาลีทั่วไป ทั้งที่เป็นส่วนไวยากรณ์ และส่วนธรรมคำสั่งสอน แม้ ในอาขยาตท่านก็จัดบุรุษเป็น ๓ ตามกิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตติ นั้น ๆ และมีความมุ่งหมายเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจความเกี่ยว ข้องแห่งบุคคลกับคำพูด ที่ใช่สนทนาซึ่งกันและกัน ฉะนั้น ปุริส สัพพนามนี้ ท่านจึงจัดเป็น ๓ ตามบุรุษที่กล่าวไว้ในอาขยาต คือ ต ๑, ตุมห ๑, อมุห์ ๑. ต (ปุริสสัพพนาม) ต ศัพท์จัดเป็น ปฐมปุริส หรือ ประถมบุรุษ สำหรับใช้ แทนชื่อ คน สัตว์ ที่ สิ่งของ ที่กล่าวมาแล้ว ท่านบัญญัติ แปลเป็นไทยว่า ท่าน เธอ เขา มัน เป็นต้น เปลี่ยนให้ถูกตาม ฐานะชั้นเชิงของบุคคล แต่ในภาษาบาลีต้องเปลี่ยน ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ของ ๓ ปุริสสัพพนาม ให้ตรงกับ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ของนามนาม ที่ออกชื่อถึง เช่นในปฐมาวิภัตติ จะต้องเป็นไป อย่างนี้.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More