การอธิบายบาลีไวยากรณ์: อุปสัคและความหมายของนาม อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 101
หน้าที่ 101 / 118

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการใช้ อุปสัค ซึ่งเป็นคำที่นำหน้าหรือขยายความนามและกิริยาผ่านการอธิบายรูปแบบและความหมาย ตัวอย่างเช่น คำว่า 'อภิราช' ที่มีความหมายว่าพระราชายิ่ง หรือ 'อติกุมติ' ที่หมายถึงก้าวล่วงไป การศึกษานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการใช้และความสำคัญของอุปสัคในภาษาบาลี ทั้งยังช่วยแยกแยะการใช้งานระหว่างนามกับกิริยาโดยชัดเจน

หัวข้อประเด็น

-อุปสัค
-นามในบาลี
-กิริยาในบาลี
-การใช้คุณศัพท์
-ความหมายของคำในบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 99 ๑. . อุปสัค อุปสัคนำหน้านามและกิริยาให้วิเศษขึ้น เมื่อนำหน้า นามมีอาการคล้ายคุณศัพท์ เมื่อทำหน้ากิริยามีอาการคล้ายกับกิริยา วิเสสน์. คำว่านำหน้านามและกิริยานั้น พึงเข้าใจว่า นามได้แก่ นามนามและคุณนาม ส่วนกิริยาหมายเอากิริยาอาขยาตและกิริยา กิตก์ สำหรับสัพพนามใช้นำหน้าไม่ได้เลย เมื่อนำหน้านามมีอาการ คล้ายกับคุณศัพท์นั้น อธิบายว่า อุปสัคโดยมากเมื่อนำหน้านามแล้ว บอกลักษณะของนามนามตัวนั้นให้วิเศษขึ้น มีอาการคล้ายกับคุณศัพท์ ทีเดียว เช่น "ราช" แปลว่า พระราชา เมื่อเอา อภิ มานำหน้า เข้า เป็น "อภิราช" แปลว่า พระราชยิ่ง คือแสดงลักษณะอาการ ของนามคือพระราชานั้นว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าพระราชา องค์อื่น ๆ ดังนี้เป็นต้น คำว่า "ยิ่ง" นั้น มีอาการคล้ายคุณนาม จะต่างกันก็แต่รูปศัพท์เท่านั้น ส่วนที่นำหน้ากิริยา มีอาการคล้าย กิริยาวิเสสน์ เช่น กมติ-ย่อมก้าว เมื่อเอา อติล่วง มานำหน้า เป็น อติกุมติ แปลว่าย่อมก้าวล่วง คำว่า อติล่วง แสดงกิริยาคือ กมติ-ก้าว ให้แปลกออกไปจากเดิม, คโต-ไปแล้ว เมื่อเอา อป= ปราศ มานำหน้าเป็น อปคโต-ไปปราศแล้ว คำว่า อป=ปราศ เป็น คำแสดงกิริยาคือ คโต-ไป ให้แปลจากเดิม ดังนี้เป็นต้น, อุปสัค ที่ใช้นำหน้ากิริยาดังแสดงมานี้ เป็นอุปสัตที่อนุวัตรตามกิริยา แต่มี อุปสัตบางตัว เมื่อนำหน้ากิริยาแล้ว ทำกิริยานั้นให้มีเนื้อความผิดแผก ไปจากเดิม ในที่นี้จึงกำหนดอุปสัคและคำแปลให้ได้แม่นยำเสียก่อน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More