ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 4
อสาธารณนามก็ได้ เพราะคนไทยมิได้มีทั่วไปแก่คนทั้งโลก มี จีน แขก
ฝรั่ง เป็นต้น แม้คำอื่น ๆ ที่เหมือนกับคำนี้ ก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าว
แล้ว.
คุณนาม
และลักษณะ
ธรรมดานามนามย่อมมีลักษณาการประจำอยู่ทั้งสิ้น
ของนามนามนั้นย่อมมีหลายอย่างต่าง ๆ กัน เช่นคน ย่อมมีโง่ ฉลาด
สูง ต่ำ ดำ ขาว อ้วน ผอม เป็นต้น, ต้นไม้ ย่อมมีงาม ไม่งาม เฉา
สดชื่น เล็ก ใหญ่ เป็นต้น, แม้ถึงสถานที่หรือสิ่งของอื่น ๆ ก็เหมือนกัน
ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีคำพูดชนิดหนึ่งดังว่านั้น สำหรับประกาศลักษณะ
ของนามนามให้เป็นที่เข้าใจ คือเป็นเครื่องช่วยให้รู้จักนามนามนั้นชัด
เจนขึ้นว่า นามนามนั้นมีลักษณะเช่นไร เช่นคนก็ให้รู้ว่าเป็นคนประ
เภทไหน โง่หรือฉลาด ดีหรือชั่วเป็นต้น เรียกคุณนาม เพราะเป็น
นามที่แสดงลักษณะของนามนาม ถ้ามีแต่นามนาม ไม่มีคำคุณเข้าประ
กอบ เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็นเอง ก็ไม่อาจรู้คุณลักษณะนั้น ๆ ได้ เช่น ปุริโส
ชาย เราก็รู้แต่เพียงว่าเขาเป็นชายหาใช่ผู้หญิงไม่ ยังมิได้แสดงให้รู้คุณ
ลักษณะซึ่งเป็นภาวะของเขา ต่อมีคุณนามซึ่งแสดงลักษณะประกอบอยู่
ด้วยดังเช่นคำว่า ปญฺญวา ปุริโส บุรุษมีปัญญา ดังนี้ เราก็รู้ลึกซึ้งเข้าอีก
ว่าผู้ชายที่ได้ออกชื่อนั้น เป็นคนมีปัญญา หาใช่คนโง่เขลาไม่ ในกาลบาง
คราวถึงกับต้องใช้คุณนามเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อพ้องกัน ให้ต่างกันว่า
นั่นเป็นคนนั้น นี่เป็นคนนี้ ซึ่งเรียกว่าให้ฉายาหรือมีฉายา มิใช่ทั้งภาษา
ไทยและภาษามคธ ในพากย์มคธ เช่น มหาปาโล นายปาละใหญ่