อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 20
หน้าที่ 20 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงการสังเกตศัพท์ในบาลี ซึ่งประกอบด้วย คุณนาม สัพพนาม และกิริยา รวมถึงการจำแนกประเภทของวิภัตติ เช่น ปฐมาวิภัตติ และทุติยาวิภัตติ โดยชี้แนะว่าการเข้าใจวิภัตติต้องพิจารณาคำที่ต่อเนื่องกันและการสัมพันธ์กับกิริยาและนาม นักเรียนจะมีความชำนาญเพิ่มขึ้นเมื่อได้อ่านและแปลหนังสือมากขึ้น อ้างอิงแหล่งข้อมูลนี้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-หลักการสังเกตศัพท์
-คุณนามและสัพพนาม
-การจำแนกวิภัตติ
-ความสัมพันธ์ระหว่างกิริยาและนาม
-การอ่านและแปลหนังสือ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

က ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 19 หนึ่ง วิธีสังเกตศัพท์ทั้ง ๓ นี้ ถ้ามี คุณนาม สัพพนาม และกิริยา กิตก์อยู่ด้วยก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น ว่าเป็นลิงค์อะไรแน่ เพราะศัพท์ เหล่านี้มีแบบแจกคงเดิม. อนึ่ง ในปุ๊ลิงค์ อิ อี อารันต์ ปฐมาวิภัตติ และทุติยาวิภัตติ พหุวจนะ กับจตุตถีวิภัตติ และฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ มักมีรูป เหมือนกัน เช่น เสฏฐิโน เป็นต้น ข้อนี้ก็มีสิ่งควรสังเกตอยู่บ้าง คือ คุณนาม สัพพนาม กิริยากิตก์ มักจะประกอบวิภัตติได้ให้เห็น ปรากฏอยู่ว่าเป็นวิภัตติอะไรแน่ เช่น เต เสฏฐิโน หรือ เสฏฐิโน กโรนฺตา อย่างนี้เป็นปฐมาวิภัตติพหุวจนะ ถ้าเป็น เสฏฐิโน กโรนฺเตฃ ก็เป็นทุติยาวิภัตติพหุวจนะ ถ้าเป็น ตสฺส เสฏฐิโน หรือ เสฏฐิโน กโรนฺตสฺส อย่างนี้เป็นจตุตถีหรือฉัฏฐีวิภัตติเอกวจนะ ทีนี้จะทราบว่า เป็นจตุตถีหรือฉัฏฐีวิภัตติแน่ ก็ต้องอาศัยคำต่อของศัพท์ คืออายตนิบาต จึงจะเข้าใจได้ดี ว่าเป็นวิภัตติอะไรแน่ ถ้าทางสัมพันธ์เนื่องกับกิริยา ก็คงเป็นจตุตวิภัตติ ถ้าเนื่องด้วยนามเป็นฉัฏฐีวิภัตติ นี้เป็นข้องควร สังเกตเรื่องจตุตถีกับฉัฏฐีวิภัตติ ว่าจะเป็นอย่างไหนแน่ ต้องอาศัยทาง สัมพันธ์เป็นหลักด้วย เรื่องการกำหนด การันต์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ จะแม่นยำชำนาญต้องอาศัยหลักดังกล่าวแล้ว คือความที่ศัพท์เกี่ยวเนื่อง กันโดยเป็น คุณนาม สัพพนาม และกิริยา ต่างก็มีรูปและวิธีใช้เป็น รูปเดียวกัน เป็นเครื่องยืนยันกันไปในตัวเสร็จแล้ว เมื่อนักศึกษาแปล และอ่านหนังสือมากเข้า ความชำนาญในเรื่องนี้ ค่อยทวีมากขึ้นโดย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More