อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 60
หน้าที่ 60 / 118

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในหน้านี้เกี่ยวกับการใช้ศัพท์สังขยาในภาษาบาลี รวมไปถึงการแจกและวิธีเปลี่ยนวิภัตติ โดยเน้นที่ศัพท์เอกและศัพท์ทวิ เปรียบเทียบการใช้คำในรูปแบบต่างๆ ตามมาตรฐานของบาลีไวยากรณ์ผู้ศึกษาจะได้เรียนรู้การแปลและการจัดการศัพท์อย่างถูกต้องในรูปแบบของคำที่เป็นปกติและสัพพนาม โดยมีตัวอย่างการใช้งานที่ชัดเจน เช่น การแปลงคำและการแจกวิภัตติในระดับที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ศัพท์สังขยา
-การแจกวิภัตติ
-บาลีไวยากรณ์
-นามและอัพยยศัพท์
-ศาสตร์การใช้ภาษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 59 เป็นต้น แม้การใช้ศัพท์สังขยา ก็ต้องนับตั้งแต่จำนวนหน่วยขึ้นไป ดุจเดียวกัน จักอธิบายเป็นศัพท์ ๆ แต่จะไม่อธิบายถึงแบบแจกและวิธี เปลี่ยนวิภัตติไว้อีก ให้ผู้ศึกษาจึงดูในแบบบาลีไวยากรณ์เถิด เอก ๑ เอก สังขยาอันเป็นเอกวจนะอย่างเดียว ท่านนิยมใช้เป็น ๒ คือเป็นปกติสังขยาอย่าง ๑ เป็นสัพพนามอย่าง ๑ ที่เป็นปกติสังขยา แจกตามแบบของตน ๆ ที่เป็นสัพพนามเป็นได้ทั้ง ๒ วจนะ และทั้ง ๓ ลิงค์แจกตามแบบ ย ศัพท์ แปลกจาก ย ศัพท์เฉพาะในอิตถีลิงค์ เอก จ. ฉ. เป็น เอกิสสา, ส. เป็น เอกสส์ เท่านั้น ที่เป็นพหุวจนะให้แปล ว่า บางเหล่า บางพวก เช่น เอเก อาจริยา อาจารย์ ท. บางพวก เป็นต้น. ทวิ ๒ สังขยา ทวิ ศัพท์นี้ยังไม่ได้แจกวิภัตติ จึงถือว่าเป็นศัพท์เดิม และแจก วิภัตติก็แจกเป็นอย่างเดียวกันทั้ง ๓ ลิงค์ เมื่อ เมื่อต่อเข้ากับศัพท์สังข ที่เป็นจำนวนอื่นก็ดี ต่อกับศัพท์นามก็ดี แปลง ทวิ เป็น ท ท ทวา พา เทว และคง ทวิ ไว้ก็มี ทวิ เมื่ออยู่หน้า ทส วีสติ และ ตีส แปลง ทวิ เป็น ทฺวา และ พา เช่น ทวาทส พารส ๑๒, ทวาวีสติ พาวิสติ ๒๒, ทวาส พฤติส ๓๒, เมื่อเข้ากับสังขยาจำนวนที่ยิ่งขึ้นไป กว่า ทส วีสติ และ ตึส คือตั้งแต่ จตุตาพีส ๔๐ จนถึง นวุติ ๕๐ แปลง ทวิ เป็น ทว และ ทวา ได้ เช่น เทวจตตาฬิส ๔๒
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More