ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 1
ลิงค์แจกอย่างเดียวกัน ส่วนสัพพนามอื่น ๆ มีแบบแจกประจำให้ลิงค์
เหล่านั้น ในประเทศที่มีสัพพนามอยู่ด้วย เป็นการง่ายต่อการสันนิษฐาน
ลงไปว่าเป็นลิงค์ใดแน่ เช่นมีสัพพนามอยู่ว่า เอโส เอสา เอต ๓
, คำนี้
ก็เป็นการบอกชัดอยู่แล้วว่า เป็นลิงค์อะไร เอโส เป็นปุ๊ลิงค์ ถ้าเป็น
วิเสสนะของศัพท์ที่มีอิการันต์เช่น เอโส สมาธิ เราจะรู้ว่า สมาธิ
เป็นปุ๊ลิงค์ เพราะ เอโส สัพพนามเป็นเครื่องบอก และเมื่อเห็นศัพท์
ว่า ชลุลิ เป็นอิตถีลิงค์ ในนปุสกลิงค์ก็เช่นเดียวกัน เช่น
เอต์ อกุจิ เป็นต้น แม้ในวิภัตติอื่น ๆ ก็พึงสังเกตตามลิงค์โดยวิธีนี้
ก็จะรู้ได้ว่าการันต์นั้นเป็นการันต์ของลิงค์อะไรแน่
ส่วนวิภัตติ เวลาแจกแล้วในลิงค์เดียวกันพ้องกันบ้าง เช่นจุตตถี
ฉัฏฐีวิภัตติ ข้อนี้สังเกตอายตนิบาตประจำวิภัตตินั้น ๆ ว่าอย่างไหน
จะเหมาะสมกว่า แล้วก็แปลอย่างวิภัตตินั้น ส่วนที่ต่างลิงค์มีรูปเหมือน
กันบ้าง เช่น ปุริสาย กับ กญฺญาย สุขาย เหล่านี้มีรูปเหมือนกัน ข้อนี้
เราต้องสังเกตและอาศัยความจำหมายไว้ ในเมื่อพบศัพท์เหล่านี้ในที่
อื่น ๆ คือเป็นวิภัตติอื่นอยู่ ว่ามีรูปเป็นอะไร เป็นลิงค์ใดแน่ แล้วนำ
มาสันนิษฐานขึ้นขาดในที่นี้ว่า ปุริสาย เป็นลิงค์ เป็นจตุตถีวิภัตติ
เพราะเอาอะที่สุดของ ปุริส กับ ส จตุตถวิภัตติเป็น อาย จึงเป็นเช่น
นั้น สุขาย ก็เปลี่ยนเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ สุข ศัพท์เป็นปุ๊สกลิงค์
เพราะในที่อื่นมีปรากฏอยู่ตื่นคาดว่า สุข ส่วน กญฺญาย ย่อมรู้จาก
ที่มาแห่งอื่นว่าเป็นอิตถีลิงค์โดยกำเนิดว่าเป็น อาการันต์ อีกอย่าง
18