ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 70
ของบาลีไวยากรณ์ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับใช้เรียกชื่อศัพท์
ประเภทหนึ่งเท่านั้น แต่ความมุ่งหมายคงมีทั่ว ๆ ไป ดังกล่าว
แล้ว.
อีกนัยหนึ่ง โดยมากสำนวนโวหารของภาษาบาลีที่พูดเป็นกลางๆ
ไม่เจาะจงใคร หรือ คนพวกหนึ่ง พวกใด แต่มุ่งจะกล่าวสอนหรือ
ตักเตือนเป็นเบื้องหน้า ก็มักจะยกคำว่า บุรุษ บุคคล ชน สัตว์ ขึ้น
กล่าวเป็นประธานแห่งเนื้อความนั้น ๆ ต่อไปนี้จะยกพระพุทธภาษิตที่มี
เฉพาะแต่คำว่า ปุริโส หรือบุรุษ เป็นประธานขึ้นเป็นตัวอย่าง พอ
เป็นเครื่องพิสูจน์เปรียบเทียบ คือ :-
๑. สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ
๒. ทุลุลโภ ปุริสาชญฺโญ
๓. อปฺปสฺสุตาย์ ปุริโส
พลิวทฺโทว ชีรติ
๔. หิรินิเสโธ ปุริโส
โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ
ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของบุรุษ
บุรุษอาชาไนยหาได้ยาก
บุรุษ ผู้สดับแล้วน้อยนี้ ย่อมแก่
เหมือนโคถึก.
บุรุษผู้เกียดกันอกุศลวิตกเสีย ด้วย
ความละอาย น้อยคนจะมีในโลก
อุทาหรณ์ทั้ง ๔ ข้อนี้ ผู้ศึกษาคงจะเห็นได้แล้วว่ามีคำ ปุริโส
หรือ บุรุษ เป็นตัวประธานแห่งเนื้อความนั้น ๆ ถ้าพิจารณาตาม
พยัญชนะแล้ว ดูเหมือนกับว่า พระพุทธเจ้าจะทรงสั่งสอนแนะนำเฉพาะ