ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 101
อุทาหรณ์การใช้อุปสัค
ๆ
ในอุปสัคทั้ง ๒๐ นั้น คำแปลทุก ๆ ตัวยังไม่สิ้นเชิงทีเดียว บาง
ตัวอาจแปลพลิกแพลงได้มากกว่านี้ก็มี ถ้าจะนำมากล่าวในที่นี้จักเป็น
การฟั่นเฟือแก่ผู้แรกศึกษา เมื่อศึกษาไปนาน ๆ จนเข้าใจแล้ว ก็จะ
แปลได้หลาย ๆ ทางตามภาษานิยม เพราะฉะนั้น ขอให้ผู้แรกศึกษา
กำหนดจดจำไว้ให้แม่นยำ เฉพาะคำแปลที่ท่านแปลไว้นี้ ก็จะถือเอา
หลักได้ดี ทั้งจะได้รับประโยชน์ในการใช้อุปสัคนี้ตามความต้องการ
ดังอุทาหรณ์ในเล่มนาม ข้อ ๕๑.
นิ มีอยู่ ๒ ศัพท์ ที่แปลว่า เข้า, ลง, ศัพท์ ๑ ที่แปลว่า ไม่มี,
ออก, ศัพท์ ๑ มีความหมายต่างกันดังนี้ :-
นิ ที่แปลว่า เข้า, ลง, ตรงกับ นิ ในสันสกฤต เวลาใช้นำหน้า
นามและกิริยา คง นิ ไว้เฉย ๆ ไม่ต้องซ้อนหรือลง 5 อาคม เช่น
นิมุคุโค ดำรงแล้ว นิคจฺฉติ เข้าถึง นิกุชฺฌติ งอเข้า นิขนติ
ขุดลง นิทหติ ตั้งลง (ฝัง) นิวาโส ความเข้าอยู่
นิ ที่แปลว่า ไม่มี, ออก, ตรงกับ นิส ในสันสกฤต เวลาใช้มัก
ซ้อนหรือลง 5 อาคม ตามอักขรวิธี เช่น นิรนุตราโย ไม่มีอันตราย
นิพฺภโย ไม่มีภัย นิกฺขนฺโต ออกแล้ว นิกกฑฒติ ย่อมคร่าออก
และ นิ ที่แปลว่า ไม่มี, ออก นี้ ถ้าอยู่หน้า ร หรือ ห จะซ้อน
หรือลง ร อาคมไม่ได้ ในที่เช่นนั้นต้องทีฆะ เช่น นิ+หรณ์-นีหรณ์
การนำออก นิรโส=นีรโส ไม่มีรส นิ+นีโรโค ไม่มีโรค