การอธิบายบาลีไวยากรณ์ในส่วนของนามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 58
หน้าที่ 58 / 118

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการอธิบายบาลีไวยากรณ์ในเรื่องนามและอัพยยศัพท์ โดยเน้นการศึกษาเกี่ยวกับสังขยานามที่เป็นพหุวจนะ พร้อมระบุวิธีการใช้วิภัตติอย่างถูกต้องตามหลักการ เช่น การจำแนกพหุวจนะและเอกวจนะ รวมถึงวิธีการใช้สังขยาจากข้อมูลต่างๆ ที่มีให้เข้าใจได้ชัดเจน. ข้อมูลมีความละเอียดในเรื่องการใช้สังขยาและการเลือกวิธีในการแจกวิภัตติอย่างถูกต้องตามบริบท.

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาบาลีไวยากรณ์
-สังขยานาม
-พหุวจนะ
-วิภัตติ
-การใช้ศัพท์บาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 57 สังขยานามที่เป็นพหุวจนะนั้น ท่านกำหนดด้วยสังขยาที่เป็น พหุวจนะอยู่ข้างหน้า ซึ่งเป็นเครื่องแสดงให้รู้ว่าไม่ใช่ร้อยเดียว พันเดียว เช่น สองร้อย สองพัน เป็นต้น และจำนวนพหุวจนะนี้ จึงต้องมีศัพท์สังขยาชั้นคุณนาม ตั้งแต่ ทวิ ขึ้นไป อยู่ข้างหน้า เหมือนอย่าง ปญฺจสตสหสุสาน นมามิ สิรสา อห์ วิธีต่อ สังขยาคุณเข้ากับสังขยานามนั้น จักกล่าวข้างหน้า แต่ในที่บางแห่ง แม้ถึงสังขยาคุณนามจะอยู่ข้างหน้า บอกถึงความเป็นพหุวจนะก็จริง โดยความนิยมของวิธีสมาสกลายไปเป็นเอกวจนะได้ เช่น ติสหสฺสํ เมื่อปรากฏเช่นนี้พึงทราบเถิดว่า ท่านจัดอย่างสมาหารที่คุสมาส วิธีแจกวิภัตติ สังขยาก็ใช้วิภัตติทั้ง ๑๔ ของนามนามนั้นเองแจก แต่ท่าน กำหนดให้ เพราะท่านกำหนดสังขยาไว้เป็นตอน ๆ บางตอนเป็นได้ เฉพาะเอกวจนะอย่างเดียว บางตอนเป็นได้เฉพาะพหุวจนะอย่าง เดียว บางตอนเป็นได้ทั้งเอกวจนะ ทั้งพหุวจนะ ดังที่ได้แสดงมา แล้วนั้น เมื่อจะลงวิภัตติก็ต้องลงให้ถูกตามวจนะนั้นอย่างให้แย้งกัน ตอนใดที่เป็นเอกวจนะอย่างเดียว ก็ใช้วิภัตติ คือ สิ อิ นา ส สุมา ส.สุมี เท่านั้น ตอนใดที่เป็นได้แต่พหุวจนะอย่างเดียว ก็ใช้วิภัตติ โย โย หิ น ห น สุ เท่านั้นลง ตอนใดที่เป็นได้ทั้งสองวจนะ ก็ใช้ วิภัตติทั้ง ๑๔ ตัวลงได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More