ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 53
นั้นเป็นคุณนาม นี้เป็นเหตุแสดงให้เห็นชัดเจนว่าคุณนามต้องมีนามนาม
แม้สังขยาที่จะอธิบายต่อไปนี้ ก็เป็นคุณนาม จึงเป็นที่ลักษณะเหมือน
กับนามนามนั่นเอง ถ้ามีแต่สังขยาอย่างเดียวเช่น ๑-๒-๓-๔-๕ ก็
ไม่อาจรู้ว่า อะไรที่มีจำนวน ๑-๒-๓-๔-๕ เมื่อเติมนามนามลง เช่น
๑ คน ๒ คน เป็นต้น ก็รู้ได้ว่าคนมีจำนวนเท่านั้นเท่านี้ หรือจะนับ
นามนามอะไรให้เติมนามนามนั้นลงไป
ปกติสังขยานี้เมื่อจะถือตามคัมภีร์ศัพทศาสตร์ ท่านแบ่งเป็น ๒
พวก ตั้งแต่
เอก ถึง จตุ เป็นสัพพานามได้ด้วย ตั้งแต่ ปญฺจ ไป เป็น
คุณนามอย่างเดียว เมื่อจะถือตามนามศัพท์จัดเป็น ๓ คือตั้งแต่ เอก
ถึง จตุ เป็นสัพพนาม ๑ ตั้งแต่ ปญฺจ ถึง อฏธนวุฒิ เป็นคุณนาม ๑
ตั้งแต่ เอกูนสต์ ไป จัดเป็นนามนาม ๑ ที่จัดเป็นสัพพนาม คุณนาม
นามนามนั้น หมายเฉพาะศัพท์สังขยาล้วน ๆ แต่เมื่อจะประกอบเข้า
กับนามนามอื่น ๆ ก็เป็นคุณนามทั้งสิ้น และสังขยานั้นเป็นได้สาม
ลิงค์ เว้นไว้แต่บางจำพวกที่ท่านนิยมให้เป็นเพียงลิงค์เดียว และเป็น
เอกวจนะอย่างเดียว, ที่เป็นสัพพนามก็เป็นได้ทั้งสามลิงค์, คุณนาม
ศัพท์ใด ถ้ามี อ การันต์ ในเมื่อจะต้องเป็นคุณนามของศัพท์ที่เป็นอิตถี-
ลิงค์ ให้ทีฆะ อะ เป็น อา แล้วแจกตามแบบ อาการันต์อิตถีลิงค์
(กญฺญา), สังขยาที่เป็นสัพพนามเป็นได้ทั้งสามลิงค์นั้น เช่น เอโก
ปุคฺคโล บุคคลคนหนึ่ง เอกา อิตถี หญิงคนหนึ่ง เอก กุล