อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 100
หน้าที่ 100 / 118

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้นำเสนอการอธิบายศัพท์บาลีที่เรียกว่า 'อัพยยศัพท์' ซึ่งหมายถึง 'ไม่ฉิบหายไป' โดยอธิบายถึงหน้าที่และความนำเสนอในด้านไวยากรณ์ รวมถึงการแบ่งประเภทของอัพยยศัพท์เป็น 3 ประเภทคือ อุปสัค, นิบาต, และปัจจัย โดยเน้นถึงความสำคัญของการใช้คำทั้ง 3 นี้เพื่ออำนวยประโยชน์ให้เต็มที่ในการประกอบเป็นนามในภาษาบาลี รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการศึกษาภาษาและวรรณกรรมบาลี

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาบาลี
-ความสำคัญของอัพยยศัพท์
-ความหมายและการใช้คำในไวยากรณ์บาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 98 อัพยยศัพท์ က ศัพท์นี้แปลว่า "ไม่ฉิบหายไป" หรือ "ไม่เสื่อมสิ้นไป" ท่านบัญญัติให้เป็นชื่อของศัพท์อีกแผนกหนึ่ง ซึ่งจะแจกด้วยวิภัตติ ทั้ง ๒ หมวด เหมือนนามทั้ง ๓ ตามที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ รูปเดิม เป็นมาอย่างไร ก็คงไว้อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ในนามทั้ง ๓ ตามที่ กล่าวมาแล้ว จะมีอยู่ด้วยกันกี่ศัพท์ก็ตาม ตามลำพึงมูลศัพท์ ยัง ไม่อำนวยประโยชน์ให้เต็มที่ ต่อเมื่อนำมาปรุงด้วยลิงค์ วจนะ วิภัตติ ทั้ง ๓ อย่างแล้ว จึงเปลี่ยนแปลงไปด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน က มูลศัพท์นั้นจึงจะอำนวยประโยชน์ให้เต็มที่ตามต้องการ ฉะนั้น ลิงค์ วจนะ วิภัตติ เครื่องปรุงทั้ง ๓ นี้ จึงจำเป็นที่สุดสำหรับมูลศัพท์ใน นามทั้ง ๓. ส่วนศัพท์ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่เป็นเช่นนั้น มูลศัพท์เป็นมา อย่างไร เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้นามบัญญัติว่า "อัพยยศัพท์" เพราะ เป็นศัพท์ที่ไม่ฉิบหายหรือไม่เสื่อมสิ้นไปด้วยอำนาจวิภัตติ ดังนี้ อัพยยศัพท์แบ่งเป็น ๓ คือ ด. อุปสัค ๒. นิบาต ๓. ปัจจัย ทั้ง ๓ คำนี้มีหลักเกณฑ์ใช้ในที่ต่าง ๆ กัน ดังต่อไปนี้ ๓ ๑. อัพยยศัพท์ พระมหาพรหมา ญาณคุตโต ป. 6 วัดราชาธิวาส เรียบเรียง อัพยย ออกจากศัพท์ อ วิ อิ (อไม่ วิต่าง ๆ อิ-ถึง) "ถึงความเป็นต่าง ๆ เหมือนอย่างนามทั้ง ๓ ไม่ได้ " ค
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More