อธิบายบาลีไวยากรณ์: นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 97
หน้าที่ 97 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายการใช้สัพพนามในภาษาบาลี ซึ่งรวมถึงคำว่า ต (นั้น), เอต (นั่น), อิม (นี้), และ อมุ (โน้น) เพื่อชี้ตัวและชี้เฉพาะนามในบริบทที่แตกต่างกัน ผู้เรียนควรพิจารณาและฝึกฝนการเปรียบเทียบการใช้คำสัพพนามเหล่านี้กับนามต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความเข้าใจ.

หัวข้อประเด็น

-การใช้สัพพนามในบาลี
-การชี้ตัวของนาม
-ความหมายของสัพพนามในภาษาบาลี
-การเปรียบเทียบสัพพนามต่างๆ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 95 นิยม ศัพท์นี้แปลว่า "กำหนด" คือกล่าวชี้ตัว นามนาม ให้ปรากฏ โดยชัดเจนทีเดียว ไม่กระจัดกระจายทั่วไปในนามอื่นที่กล่าวมาแล้ว. สัพพนามพวกนี้ได้แก่ :- ต แปลว่า "นั้น" สำหรับใช้แทน นามนาม ที่ห่างออกไปพอ ประมาณ หรือกล่าวให้ปรากฏชัดว่า คนนั้น หรือ สิ่งนั้น, ไม่ใช่ คนอื่น หรือ สิ่งอื่น. เอต แปลว่า "นั่น" สำหรับใช้แทน นามนาม ที่ใกล้เข้ามาหน่อย หรือเป็นโวหารกล่าวซ้ำให้ปรากฏเป็นครั้งที่สอง อิม แปลว่า "นี้" สำหรับใช้แทน นามนาม ที่ใกล้ที่สุด หรือ กล่าวให้แน่ชัดว่าเป็น คนนี้ หรือ สิ่งนี้ ไม่ใช่ คนนั้น คนอื่น หรือสิ่งนั้น สิ่งอื่น. อมุ แปลว่า "โน้น" สำหรับใช้แทน นามนาม ที่ห่างที่สุด เพื่อจะให้ความเข้าใจในตอนนี้ดีขึ้น ผู้ศึกษาจงเปิดดูอุทาหรณ์ ในนาม ข้อ ๘๓ ซ้ำอีกที แล้วจงพยายามตรึกตรอง และกำหนด หมายเลขที่ท่านลงกำกับไว้ที่ศัพท์ และคำแปลนั้น ๆ ให้ดี ถึงแม้ว่า ในอุทาหรณ์เหล่านั้นจะมีแต่ที่ใช้กับ ต ศัพท์อย่างเดียวก็จริง แต่เชื่อว่า อาจนำ เอต, อิม, อมุ เข้าไปใช้แทน และเทียบเคียงกับ ต นั้น ได้บ้าง ฉะนั้นในที่นี้จึงไม่จำเป็นต้องเขียนอุทาหรณ์ไว้อีก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More