ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 64
วิธีต่อจํานวนเศษ
สังขยาที่เหลือจากจำนวนเต็มนั้น เมื่อจะต่อเข้ากับจำนวนเต็ม
ท่านให้ใช้ อุตฺตร และ อธิก มาคั่นในระหว่างของจำนวนนั้น ๆ
ทุกจำนวนที่เหลือ กำหนดใช้ อุตฺตร อยู่ใกล้สังขยาคุณ, อธิก อยู่
ใกล้สังขยานาม, อุตฺตร อธิก ทั้งสองนี้เป็นคุณนาม เมื่อใช้ประกอบ
ต้องให้เป็นคุณนามของสังขยาที่เป็นจำนวนเต็ม (คือสังขยาที่เป็นตัว
ประธาน) จะนับนามนามใด ให้เอานามนามนั้น ประกอบวิภัตติลง
ในระหว่าง นามนามที่อยู่ใกล้สังขยาคูณ ในประกอบด้วยตติยาวิภัตติ
อย่างเดียว ส่วนวจนะนั้นให้ถือตามสังขยาคุณ นามนามที่อยู่ใกล้
สังขยานามที่เป็นเศษ ให้ประกอบด้วยตติยาวิภัตติทุก ๆ จำนวน
ส่วนวจนะก็ให้ถือตามสังขยานั้น ๆ และควรถือตัวอย่างจาก พุทธศักราช
ที่ท่านวางไว้ แต่ที่นั้นท่านประกอบเป็นรูปสมาส แล้วลบศัพท์เสียบ้าง
ตามวิธีย่อสมาส เช่น ๒,๕๘๓ ปี ปรากฏว่า ตุยาสีติสํวจฺฉรุตฺตรจตุ
สตาธิกานิ เทว สํวจฺฉรสหสสานิ เมื่อแยกออกให้เป็นศัพท์ ๆ เพื่อ
เห็นง่าย ก็เป็น ตุยาสีติยา ส่วนเรหิ อุตตรานิ จตูหิ สวจฉราน
สเหติ อธิกานิ เทว สํวจฺฉาน สหสฺสานิ แปลว่าอันว่าพัน ท.
แห่งปี ท. สอง ยิ่งด้วยร้อย ท. แห่งปี ท. ยิ่งด้วยปี ท. แปลสิบสาม
เราจะเห็นได้ว่า อุตตร อยู่ใกล้สังขยาคุณ คือ ตุยาสีติยา ๘๓, อธิก
อยู่ใกล้สังขยานาม คือ สเหติ ๑๐๐, อุตตร และ อธิก ทั้งสองนี้
ถ้าต้องประกอบสังขยาที่เป็นเศษหลาย ๆ ชั้น ต้องใช้สลับกัน คือ