อธิบายบาลีไวยากรณ์: นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 89
หน้าที่ 89 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการศึกษาวิธีการและลักษณะการใช้งานของนามนามและวิเสสนสัพพนามในบาลีไวยากรณ์ โดยมีการแจกแจงตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างกันได้ชัดเจนขึ้น เช่น การใช้คำว่าบุรุษเป็นนามนาม และการระบุคำว่า ‘นิยม’ และ ‘อนิยม’ ที่มีความหมายที่แตกต่างกัน โดยจะกล่าวถึงวิธีการใช้และความหมายของแต่ละคำในบริบทต่าง ๆ และอธิบายว่าทำไมจึงเป็นสิ่งสำคัญในทางภาษาและการสื่อสารเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจในบทบาทของคำเหล่านี้ ว่าสามารถทำให้ข้อความมีความชัดเจนและมีการตีความได้อย่างถูกต้อง กล่าวถึงลิงค์ วจนะ วิภัตติ ที่มีความสำคัญต่อการวิเคราะห์องค์ประกอบของประโยคในภาษา

หัวข้อประเด็น

- การใช้คำในบาลี
- ความแตกต่างของนามนามและวิเสสนสัพพนาม
- นิยมและอนิยมในทางภาษา
- การทำความเข้าใจไวยากรณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 87 ของนามนาม ให้ปรากฏชัดเจนขึ้น เพื่อให้รู้ว่า นามนามนั้นเป็น อย่างไร ตัวอย่างเช่น "บุรุษนั้นดี" คำว่า บุรุษ เป็นนามนาม เป็น บทประธานในประโยคคำพูดนี้, คำว่า "นั้น" เป็นวิเสสนสัพพนาม เพราะเป็นคำที่ใช้ประกอบบทนามนาม คือ บุรุษ ให้เห็นว่าอยู่ไกลจาก ผู้กล่าวถึงไปหน่อย และกำหนดแน่นอนด้วยว่า เป็นบุรุษคนนั้นไม่ใช่ คนอื่น หรือคนนี้ ส่วนคำว่า "ดี" เป็นคุณนามโดยตรง เพราะ แสดงลักษณะบุรุษ ซึ่งเป็นนามนาม ให้รู้ว่าเป็นบุรุษที่ดี ไม่ได้เป็น คนชั่ว หรือเป็นอย่างอื่น ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า วิเสสนสัพพนาม กับ นั้นต่างกันแล้วอย่างไร แต่ลักษณะบางอย่างที่เหมือน คุณนาม กันก็มี เช่น ต่างก็ต้องใช้เป็นบทประกอบ บอกลักษณะอาการของ นามนามด้วยกัน และต่างก็ต้องมี ลิงค์ วจนะ วิภัตติ เป็นอย่าง เดียวกันกับ นามนาม ตัวนั้น อนิยม กับ นิยม ทั้งสองคำนี้ ถูกแบ่งมาจาก วิเสสนสัพพนาม ซึ่งมีความหมาย ต่างกัน และศัพท์ที่ใช้ก็ต่างกัน ดังต่อไปนี้ :- อนิยม ศัพท์นี้แปลว่า ไม่กำหนด หรือไม่แน่ สัพพนามที่ใช้แทนนามนาม ที่ไม่กำหนดแน่นอนลงไปว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือคนนั้นคนนี้ เรียกว่า อนิยม วิเสสนสัพพนาม ได้แก่คำต่อไปนี้ :-
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More