อธิบายบาลีไวยากรณ์: นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 75
หน้าที่ 75 / 118

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายเกี่ยวกับบาลีไวยากรณ์โดยเฉพาะการใช้มัชฌิมปุริสหรือมัธยมบุรุษที่แทนผู้ฟัง ซึ่งเป็นการใช้ศัพท์ ตุมห ในเชิงที่ให้ผู้พูดสามารถสื่อสารกับผู้ฟังได้โดยไม่รู้สึกเคอะเขิน เนื่องจากในภาษาอื่น ๆ ไม่ค่อยนิยมระบุชื่อผู้ฟังในบทสนทนา โดยตัวอย่างเช่น การถามคำถามในภาษาบาลีที่ใช้คำว่า 'ท่าน' แทนชื่อของผู้ฟัง เพื่อให้การสื่อสารเหมาะสมกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง การแปลคำต่าง ๆ เช่น เข้า ท่าน สู เอ็ง มึง ต้องให้ถูกต้องตามลำดับฐานะเพื่อให้คำแปลที่เหลือเป็นกลางทางภาษาและถูกต้องตามภาษานิยม

หัวข้อประเด็น

-บาลีไวยากรณ์
-มัธยมบุรุษ
-การแทนชื่อผู้ฟัง
-การใช้ศัพท์ในภาษาไทย
-การแปลคำบาลีเป็นไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 74 ตุมห ศัพท์นี้ จัดเป็นมัชฌิมปุริส หรือ มัธยมบุรุษ สำหรับใช้แทน ชื่อผู้ฟัง คือผู้ที่เรากำลังพูดหรือถามกันซึ่ง ๆ หน้า ในระหว่างที่ สนทนากันอยู่ จะเป็นคนหรือสัตว์ไม่เป็นประมาณ เพราะทุก ๆ ภาษา ไม่นิยมออกชื่อผู้ฟัง หรือผู้ที่เรากำลังพูดอยู่ด้วยนั้นขึ้นกล่าวตรง ๆ จึงต้องบัญญัติคำขึ้นคำหนึ่ง สำหรับใช้แทนตัวนามที่เป็นผู้ฟังนั้น เพื่อ กันความเคอะเขินที่จะต้องออกนามจริงกันซึ่งหน้า ตัวอย่างเช่น พระ ก. ถามพระ ข. ว่า "ท่านไปไหนา ? " ดังนี้ คำว่า "ท่าน" เป็นคำแทนชื่อของพระ ข. ซึ่งเป็นผู้ฟังคำถามของพระ ก. เพราะ ฉะนั้น พระ ข. จึงต้องเป็นมัธยมบุรุษ ในภาษาบาลีบัญญัติ ตุมห ศัพท์เดียวเท่านั้น สำหรับใช้แทนชื่อจริงของนามดังกล่าวแล้ว แต่ถ้า จะแปลออกเป็นภาษาไทยก็ได้หลายคำ เช่น เข้า ท่าน สู เอ็ง มึง เป็นต้น ตามลำดับฐานะชั้นเชิงของนามนามนั้น เพื่อให้เหมาะสมกับ ความสูงต่ำหรือเสมอกันกับผู้พูด และถูกต้องตามภาษานิยม จึงดูวิธี ใช้มัธยมบุรุษในภาษาไทย ดังจะนำมาเป็นตัวอย่างเพื่อเป็นทางให้ ผู้ศึกษาเทียบเคียงดู แล้วแปลภาษาบาลีออกเป็นภาษาไทย ให้ ถูกต้องตามนิยม อย่าให้เป็นการเคอะเขินในเมื่อแปลคำแทนชื่อนั้นๆ ดังต่อไปนี้ :-
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More