อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 74
หน้าที่ 74 / 118

สรุปเนื้อหา

ในบทเรียนนี้ได้กล่าวถึงการใช้สัพพานามและนามนามในบาลีไวยากรณ์ โดยเฉพาะการใช้คำปุริสสสัพพนาม ซึ่งช่วยให้การสื่อสารในภาษาบาลีไม่เกิดความซ้ำซาก นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบการใช้คำในภาษาไทย ซึ่งแตกต่างกันตามชั้นเชิงของบุคคล เช่น การเรียกราชาและเจ้านายชั้นสูง การใช้ท่าน เธอ เขา แก และสัตว์ชนิดต่างๆ ในบริบทที่เหมาะสม รวมถึงการยกย่องและการเคารพในภาษาไทย เช่นเดียวกับที่แสดงไว้ในเล่มนามข้อ 83 ของอาจริโย.

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาไวยากรณ์บาลี
-การใช้สัพพานาม
-การเปรียบเทียบกับภาษาไทย
-การเรียกชื่อตามระดับชั้น
-การเข้าใจบาลีในบริบทต่างๆ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คำ ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 73 ในแบบบาลีไวยากรณ์เล่มนาม ท่านแสดงไว้โดยชัดเจนแล้ว ให้ผู้ศึกษา พึงกำหนดแจก ต สัพพานาม กับ ตัวนามนามให้ตรงกันโดยนัยนี้ วิธีใช้ ต ปุริสสสัพพนาม ได้กล่าวมาในเบื้องต้นแล้วว่า คำนี้สำหรับใช้แทน นามนาม ที่ เคยออกชื่อมาแล้ว เพื่อจะมิให้มีคำซ้ำซาก มีคำซ้ำซาก ในประโยคคำพูดนั้นๆ ขอให้ผู้ศึกษาพึงสังเกตอุทาหรณ์ในเล่มนามข้อ ๘๓ อาจริโย ม ฯ เป ชั้นเถิด ส่วนในภาษาไทยไม่ได้ใช้ยืนเป็นแบบเดียว มียักเยื้องไปตาม ชั้นเชิงของบุคคล จึงเห็นวิธีใช้คำปุริสสัพพนาม ที่เป็นประถมบุรุษ ในภาษาไทย ดังต่อไปนี้ ต ประถมบุรุษ แปลเป็นไทย ใช้ตามชื่อของบุคคลที่ออกชื่อถึง พระองค์ ประถมบุรุษ พระ, ธ, (ในคำประพันธ์) ท่าน เธอ เขา แก มัน ชั้นบุคคลที่ปุริสสัพพนามนั้นใช้แทน พระราชา เจ้านายชั้นสูง พระราชา เจ้านายชั้นสูง เจ้านาย ขุนนางผู้ใหญ่ พระสงฆ์สามเณร ผู้ที่นับถือ มีมารดาบิดาเป็นต้น ผู้ที่ยกย่อง ผู้เสมอกัน หรือ ผู้ที่ไม่สนิทสนมกัน คนแก่ ผู้ที่ไม่ใช่อยู่ในเกณฑ์เคารพนับถือ สัตว์ดิรัจฉาน สิ่งของ สถานที่ ๑. ดัดแปลงมาจาก สนามไวยากรณ์ วิจีวิภาค
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More