ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 1
ที่บทวิเสสนะและบทกิริยาอาขยาต หรือกิริยากิตก์ในประโยคนั้น ๆ
เช่น โส เสฏฺฐี, เต เสฏฺฐี, เสฏฐี คจฺฉติ, เสฏฐี คอนติ
เสฏฐี คโต, เสฏฐี คตา เป็นต้น ก็อาจทราบได้ว่าเป็นวจนะอะไร
เพราะบทวิเสสนะก็ดี บทกิริยาอาขยาตหรือบทกิริยากิตก์ก็ดี ย่อมเป็น
เหมือนเครื่องส่องวจนะให้ชัดเจน ผู้ศึกษาจึงกำหนดให้ดี
ยังมีวจนะอีก ๒ ประเภท คือทวิวจนะและเทววจนะ ในวจนะ
ทั้ง ๒ นี้ มีความหมายต่างกัน ทวิวจนะ หมายความว่าสิ่งของหรือ
บุคคลที่พูดถึงนั้นมีเพียง ๒ ไม่ถึง ๓ แต่ไม่ใช่เพียง ๑. คำว่าเทววจนะ
หมายความว่าศัพท์ที่จะแจกด้วยวิภัตติเป็นได้ ๒ วจนะคือทั้งเอกวจนะ
และพหุวจนะ เพราะบางศัพท์เป็นได้แต่เอกวจนะ เป็นพหุวจนะไม่ได้
เช่น อตฺต ศัพท์ เป็นตัวอย่าง บางศัพท์เป็นได้แสดงไว้แล้วนั้น เช่น ปญฺจ
เป็นต้น เช่นเดียวกับคำที่ว่า ทุวิลิงค์เป็นได้ ๒ ลิงค์ ไตรลิงค์เป็น
ได้ ๓ ลิงค์.
วจนะนั้นมีลักษณะอาการคบล้ายสังขยา เพราะต่างก็นับจำแนกมี
ความหมายในวัตถุสิ่งของหรือบุคคลให้รู้จำนนว่ามีเท่าไร แต่วจนะที่
เป็นพหุวจนะมีความหมายกว้างกว่าสังขยา เพราะตั้งแต่ ๒ ขึ้นไปเป็น
พหุวจนะทั้งนั้น มิได้จำกัดจำนวนเท่าไร ส่วนสังขยาแม้จะมาก
สักเท่าไร ก็มีกำหนดจำนวนว่ามีเท่านั้นเท่านี้ รวมความว่าพหุวจนะมี
การนับโดยมิได้มีขอบเขตว่าเท่าไร สังขยามีขอบเขตว่ามีเท่านั้นเท่านี้
และวจนะนี้ที่ใช้ในนามศัพท์เมื่อประกอบกับศัพท์แล้วเป็นเครื่องหมาย
12