ข้อความต้นฉบับในหน้า
แล้ว.
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 69
ตัวอย่างทั้งสองที่ยกขึ้นมาจนอ้างนั้น ลองนึกเปรียบเทียบดูว่ามีข้อ
แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไรบ้าง เมื่อกำหนดถึงใจความโดยเฉพาะ
แล้วก็เหมือนกัน แต่ถ้าจะมุ่งฟังถ้อยคำหรือสำนวนโวหารแล้วคงผิด
กันมาก เพราะตัวอย่างข้างต้นมีรุงรังไปด้วยคำซ้ำ ๆ ซาก ๆ กล่าว
คือจะต้องเอ่ยถึงตัว นามนาม คือ นายดำ นายขาว กันเรื่อยไป
จนกว่าจะจบเรื่อง, ส่วนตัวอย่างข้างปลายนั้น มีคำว่า แก เป็นต้น เข้า
มาแทนตัวนามนาม คำซ้ำซากจึงหมดไป นับว่าเป็นการถูกต้องตาม
วิธีภาษาที่นิยมที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป ฉะนั้น คำสัพพนาม จึงต้องมี
หน้าที่แทน นามนา ที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อป้องกันคำซ้ำซากอันไม่
น่าฟัง และท่านแบ่งคำนี้ออกเป็นสอง คือเป็น ปุริสสัพพนาม ๑
วิเสสนสัพพนาม ๑.
ๆ
ปุริสสัพพนาม
น่าจะทำความเข้าใจคำว่า ปุริส ซึ่งอยู่หน้าสัพพนามเสียก่อน
ศัพท์นี้แปลกันว่า บุรุษ หรือผู้ชาย แต่ในบาลีไวยากรณ์ไม่ได้
หมายความว่า เป็นคำสำหรับใช้ผู้ชายอย่างเดียว แม้จะเป็น
ผู้หญิงหรือมิใช่ก็ตาม คงมีความหมายเช่นเดียวกัน คือ ปุริส ย่อม
มุ่งหมายที่จะทำหน้าที่แทนตัวนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว และกำลังที่จะ
ออกชื่อกล่าวโต้ตอบกันอยู่ ทั้งที่เป็น คน สัตว์ ที่ สิ่งของ ฉะนั้น
คำว่า ปุริส ในที่นี้ เป็นแต่เพียงโวหารที่นิยมใช้กันอยู่ในส่วนหนึ่ง