ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 66
ท่านว่างตัวอย่างไว้เพียงที่ 4 ทั้งกึ่ง เมื่อจะประกอบให้มากไปกว่านี้
ก็พึงเอา ทฑฺฒ ศัพท์ประกอบข้างหน้าสังขยาที่เป็นเศษ และโดยมาก
ลงปัจจัยในปรูณตัทธิต เช่น ๓๕๐ ว่า อฑฺฒฏฐม สติ ร้อยที่ 4 ทั้งกึ่ง
จำนวนอื่นก็พึงเทียบตามนี้
៨
สังขยาที่ประกอบด้วย ศัพท์นี้ ถ้าไม่ลงปัจจัยในปูรณ
อาต
ตัทธิต เป็นพหุวจนะได้ เช่น อฑฺฒเตรสานิ ภิกฺขุสตานิ ร้อยแห่ง
ภิกษุ ท. ๑๓ ทั้งกึ่ง (๑,๒๕๐) ดังนี้ ผู้ศึกษาจึงดูในอธิบายปูรณ
ตัทธิตเถิด.
ปูรณสังขยา
ปูรณสังขยานี้ เป็นคุณนามอย่างเดียว ใช้นับจำนวนนามนาม
ในที่เต็ม คือนับเฉพาะ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ เป็นต้น หมายเอาแต่
อย่างเดียว ที่เดียว หรือคนเดียว จึงได้ความสันนิษฐานว่า เป็น
เอกวจนะอย่างเดียว เหมือนอย่างว่า คนยืนหรือนั่งเป็นแถว ๆ สัก
๒๐ คน เมื่อถูกเรียกว่า คนที่ ๑๕ จงไป ก็ต้องไปได้เพียงคนเดียว
คือคนที่ ๑๕ เท่านั้น, ปูรณสังขยานี้ ก็ใช้ปกติสังขยานั้นเอง แต่ต้อง
ลงปัจจัยในปูรณตัทธิต ทำให้แปลกกัน จึงได้มีชื่อเรียกว่าปูรณสังขยา
เพราะเรียกตามปัจจัยที่ลงปูรณสังขยานี้ ท่านได้อธิบายไว้ปูรณสังขยา
ละเอียดในปูรณสิทธิต ผู้ต้องการจงตรวจดูเถิด. ส่วนการแจกวิภัตติ
และการันต์ในแบบปรากฏอยู่ชัดเจนแล้ว แต่มีอยู่บางคำ เช่น เอกาทสี
จตุททสี ปณฺณรสี อันเป็นอิตถีลิงค์ แจกในปฐมาวิภัตติ ลง