อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 83
หน้าที่ 83 / 118

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาจะอธิบายเกี่ยวกับการใช้คำในภาษาบาลี โดยเฉพาะเรื่องนามและอัพยยศัพท์ พร้อมตัวอย่างการใช้และบทบาทของสัพพนามในประโยค เพื่อช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจการใช้งานในบริบทต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ผู้เรียนสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาไวยากรณ์บาลีได้อย่างเต็มที่ โดยมีการยกตัวอย่างและการอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับการใช้งานทั้งในระดับสูงและพื้นฐาน รวมถึงการทำความเข้าใจกับคำที่มีหลายความหมาย การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และการทำให้การศึกษาบาลีเป็นไปในทิศทางที่เข้าใจง่าย.

หัวข้อประเด็น

- บาลีไวยากรณ์
- นาม
- อัพยยศัพท์
- สัพพนาม
- การศึกษาไวยากรณ์บาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 81 ๔. ธมฺโม โน อุตฺตม์ สรณ์ พระธรรม เป็นที่พึ่ง (อัน) ๔ สูงสุด ของเราทั้งหลาย ๔ ๒ ๒ ต้องมีบทอื่นนำหน้าเช่นนี้ ก็เพราะศัพท์ทั้ง ๔ นี้ เมื่อแจกวิภัตติ แล้ว มีรูปเหมือนกับกันศัพท์อื่น ซึ่งมีความหมายไปอีกทางหนึ่ง คือ เต แปลว่า เขาทั้งหลาย, เหล่านั้น, เป็น ต ศัพท์ ป. ทุ. พหุวจนะ. โว แปลว่า โว้ย เป็นนิบาต สักว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม โน แปลว่า ไม่ เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ อาศัยเหตุนี้ จึงต้องมีบทอื่นนำหน้า เต โว มัธยมบุรุษ และ เมโน อุตตมบุรุษ วิเสสนสัพพนาม เฉพาะคำว่า "สัพพนาม" คำเดียว ซึ่งเป็นส่งหนึ่งของ นามศัพท์หนึ่ง ผู้ศึกษายังจำได้อยู่ว่า "เป็นชื่อสำหรับใช้แทนนามนาม ที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อจะไม่ให้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ซึ่งไม่เพราะหู" ดังที่ ท่านได้แสดงไว้ในเล่มนามและอัพยยศัพท์ ข้อ ๓๓ นั้นแล้ว แต่ใน ที่นี้ต้องเติมคำว่า วิเสสนะ เข้าข้างหน้าสัพพนาม อีกคำหนึ่ง จึง รวมเป็นคำเดียวกันเรียกว่า วิเสสนสัพพนาม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More