อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 3
หน้าที่ 3 / 118

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้อธิบายถึงบาลีไวยากรณ์โดยเฉพาะนามและอัพยยศัพท์ ที่พบในภาษาไทย เทคนิคในการประกอบคำ และตัวอย่างเช่นคำว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่เป็นคำเดิม รวมถึงการใช้สัญญัติศัพท์ เช่น โรงเรียน และ ร้านค้า นามศัพท์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นามนาม, คุณนาม, และ สัพพนาม โดย เจาะลึกถึงการใช้คำว่า 'คน' และ 'สัตว์' ในการแสดงนามต่าง ๆ รวมถึงตัวอย่างเฉพาะที่บ่งบอกถึงสิ่งของและสถานที่

หัวข้อประเด็น

-บาลีไวยากรณ์
-นาม
-อัพยยศัพท์
-นามศัพท์
-ภาษาไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 2 แม้ในภาษาไทยก็มีใช้เหมือนกัน เช่นคำว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ล้วน เป็นคำเดิมทั้งสิ้น, คำพูดผสมซึ่งปรุงขึ้นจากธาตุและปัจจัยต่าง ๆ สำเร็จ โดยสาธนวิธีแห่งนามกิตก์บ้าง อย่างอื่นบ้าง และบัญญัติว่าศัพท์นั้นหรือ ป็นชื่อของสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือหมายความว่าอย่างนั้นอย่างนี้ เหมือน อย่างคำว่า ปุริโส บุรุษ (ปุร+อิส) ภิกขุ ภิกษุ (ภิกฺข+รู) เป็น อาทิ เรียกสัญญัติศัพท์ ๆ นี้ในภาษาไทยก็มีใช้เหมือนกัน เช่นคำว่า โรงเรียน (โรง+เรียน ) ร้านค้า (ร้าน+ค้า) เป็นต้น. นามศัพท์ คำนี้ ก็คือนามและศัพท์ดังกล่าวแล้ว เป็นแต่รวมเข้าด้วยกัน แปลว่าศัพท์ที่แสดงนามคือชื่อหรือสำเนียงที่แสดงนาม อันหมายความ ว่าสำเนียงหรือเสียงที่บ่งถึงชื่อนั้นเอง เรียกว่า นามศัพท์ ๆ นั้นแบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ นามนาม ๑ คุณนาม ๑ สัพพนาม ๑. นามนาม ท นามที่เป็นชื่อของคน สัตว์ ที่ สิ่งของ และสภาพต่าง ๆ เรียก นามนาม. มนุษย์ทุกจำพวกซึ่งมีอวัยวะคล้ายคลึงกัน รวมเรียกว่า "คน" สัตว์มุกจำพวกต่างโดยช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น เป็นสัตว์มี เท้าก็ตาม ไม่มีเท้าก็ตาม มีปีกก็ตาม ไม่มีปีกก็ตาม หรือที่พิเศษนอก ไปจากนี้ก็ตาม รวมเรียกว่า "สัตว์" ของอยู่เป็นที่เช่นแผ่นดินก็ดี ของที่ เนื่องกับแผ่นดินเช่นต้นไม้หรือเรือนก็ดี หรือสิ่งอื่น ๆ อันนับว่าเป็นที่ อยู่อาศัย รวมเรียกว่า "ที่ " สิ่งของทุกประเภทต่างโดยเป็นเครื่อง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More