ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยคด - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 96
สัพพนามทั้งปวงเปลี่ยนรูปได้
ක
ผู้ศึกษาพึงสังเกตในนาม ข้อ ๕๓ ให้ดี จะเห็นได้ว่า สัพพนาม
ทั้งหมด ทั้งที่เป็นอนิยมและนิยม เมื่อลงปัจจัยในอัพยยตัทธิตแล้ว
ก็กลายรูปไปเป็นศัพท์ อัพยยตัทธิต อีกต่อหนึ่ง (ในแบบบาลี
ไวยากรณ์นาม ท่านรวมเรียกว่า อัพยยศัพท์ เพราะรวมอุปสัค
เข้าด้วย) จะแจกด้วยวิภัตติทั้ง ๒ ไม่ได้ ไม่มีลิงค์ ไม่มีวจนะ แต่
จำต้องใช้ศัพท์นั้น ๆ ในฐานะที่เป็น ตติยาวิภัตติ และ สัตตมีวิภัตติ
แม้จะประกอบเข้ากับนามนาม ที่เป็น ลิงค์ใด วจนะใด ก็ตาม
สัพพนามที่แปรรูปไปเป็น อัพยยตัทธิต แล้วนั้น ก็ยังคงปรากฏเป็น
รูปเดิมอยู่ คือใช้ได้ทั้ง ๓ ลิงค์ ๒ วจนะ ส่วนคำแปลก็ไม่ละทิ้งจาก
รูปสัพพนามไปได้เลย เช่น สพฺพตฺถ ฐาเน กับ สพฺพตฺถ ฐาเนสุ
ก็ยังคงใช้ สพฺพตฺถ เหมือนกัน ดังจะได้เห็นคำอธิบายที่จะกล่าวถึง
อัพยยศัพท์ ต่อไปข้างหน้า
อนึ่ง เมื่อเราทราบดีแล้วว่า สัพพนาม นั้น สำหรับใช้แทน
นามนาม ประกอบเข้ากับนามนาม หรือโยคตัวนามนามที่กล่าวมา
แล้ว โดยที่จะต้องประกอบ สัพพนาม กับ นามนาม ให้มี ลิงค์
วจนะ วิภัตติ ตรงกัน แต่วิธีแจกวิภัตติ
เจกวิภัตตินามศัพท์ทั้งสองนี้ไม่เหมือน
กัน ฉะนั้นผู้ศึกษาใหม่ ๆ ควรฝึกหัดแจกเทียบ สัพพนาม กับ นามนาม
ควบกันไปในคราวเดียว เพื่อป้องกันความฟั่นเฟือ และเพื่อให้เกิด
ความชำนาญในเมื่อถึงคราวฝึกหัดการแปล, ในที่นี้จะแจกใน ลิงค์