อธิบายบาลีไวยากรณ์: นามและอัพยยศัพท์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 17
หน้าที่ 17 / 118

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายการแจกและการเปลี่ยนแปลงวิภัตติในภาษาบาลี โดยมุ่งเน้นที่นามและอัพยยศัพท์ ผู้ศึกษาควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของวิภัตติและอำนาจของลิงค์ในศัพท์ต่าง ๆ เช่น การรวมสระและตัววิภัตติ วิธีเปลี่ยนแปลงนั้นมีอธิบายอยู่ในตัวอย่าง เช่น 'ปุริส' ที่มีการเปลี่ยนเป็น 'ปุริโส' โดยการใช้สระและวิภัตติ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างวิภัตติอื่น ๆ ที่ผู้ศึกษาไม่ควรมองข้าม เพื่อเข้าใจความหมายและการใช้งานได้อย่างถูกต้องในบริบทต่าง ๆ

หัวข้อประเด็น

- การแจกศัพท์
- การเปลี่ยนแปลงวิภัตติ
- ลิงค์ในบาลี
- อุทาหรณ์ในวิภัตติ
- ศัพท์และความหมายในบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 16 ลิงค์อะไรแจกตามแบบไหน เช่น อินฺท ปภา อิทธิ หตฺถี มจฺจุ เหล่านี้ ย่อมมีวิธีแจกไม่เหมือนกันด้วยอำนาจลิงค์และประเภท ของศัพท์ เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นศัพท์นั้น ๆ จงใคร่ครวญให้ดีว่าเป็น ลิงค์อะไร เมื่อทราบลิงค์ก็อาจทราบได้ว่าแจกตามแบบไหน วิธีแจก จมู และการเปลี่ยนแปลงวิภัตติในเวลาแจก ท่านได้แสดงไว้บริบูรณ์แล้ว ผู้ศึกษาพึงสังเกตดูให้ดี เพราะท่านอธิบายไว้ข้างท้ายของแบบแจกใน การันต์นั้น ๆ ถึงวิธีเปลี่ยนว่าทำอย่างไร เอาการันต์คือสระที่สุดศัพท์ กับตัววิภัตติเป็นอย่างไร ก็ชัดเจนทุกแห่ง เช่น ปุริส มี อะ เป็นที่สุด รวบกับ สิ วิภัตติ ท่านให้เอาเป็น โอ [ อะ+สิ = เอ ] จึงเป็น ปุริโส แม้ตัวอื่น ๆ ก็เช่นนั้น เช่น อะ กับ โย ปฐมาวิภัตติเป็น อา [อะ+ โย อา] อะ กับ โย ทุติยาวิภัตติเป็น เอ [ อะ+ สิ =โอ] จึงเป็น ปุริสา ปุริเส เป็นต้น แม้วิภัตติอื่นการันต์อื่นในไตรลิงค์ก็พึงเข้าใจ ตามนี้ โดยดูอธิบายท้ายแบบแจกในการันต์ทั้งปวงเถิด. อิ อี การันต์ในอิตถีลิงค์มีกลเม็ดอยู่บ้าง อันผู้ศึกษาพึงสังเกต ให้ดี เช่น นาริย์, โพธิยัล ทาริย์ เป็นต้น ผู้ไม่ทันพิจารณา อาจตอบว่าเป็นสัตตมีวิภัตติอย่างเดียวเป็นวิภัตติอื่นไม่ได้ แท้จริงเป็น วิภัตติอื่นก็ได้ คือเป็นทุติยาวิภัตติ ท่านให้อุทาหรณ์ไว้ว่า ตเถว ตว์ มหาวีร พุชฌสุสุ ชินโพธิย์ ข้าแต่พระมหาวีระ ขอพระองค์ จงตรัสรู้ซึ่งโพธิญาณของพระชินะอย่างนั้นทีเดียว จะเห็นได้ว่า ชินโพธิย์ เป็นทุติยาวิภัตติ หาใช่สัตตมีวิภัตติไม่ แม้ศัพท์อื่น ๆ ที่ได้ยกขึ้น กล่าวแล้วก็พึงทราบโดยนัยนี้ ในคัมภีร์มูลกัจจายนะ ให้คำอธิบายว่า ๑. มูลกจจายน, สูตรที่ ๑๒๓. หน้า ๒๒๔.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More