สัพพนามในบาลีไวยากรณ์ อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพพยศัพท์ หน้า 69
หน้าที่ 69 / 118

สรุปเนื้อหา

สัพพนามถือเป็นส่วนหนึ่งของนามศัพท์ที่ใช้แทนคำนามทั้งสาธารณะและอสาธารณะ เพื่อเลี่ยงการซ้ำซ้อนในบทสนทนา สามารถใช้แทนคำที่พูดถึงแล้วเพื่อทำให้ประโยคกระชับและเข้าใจง่ายขึ้น อย่างเช่น 'นายดำ ไปหานายขาว' โดยสามารถปรับปรุงเป็น 'แกถามเขา' ทำให้ข้อความไม่ซ้ำซากและเหมาะสมกับผู้ฟัง การใช้งานสัพพนามจึงเป็นสิ่งสำคัญในภาษา

หัวข้อประเด็น

-สัพพนาม
-บาลีไวยากรณ์
-การใช้คำแทนชื่อ
-การหลีกเลี่ยงคำซ้ำซาก
-การปรับปรุงประโยค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 68 สัพพนาม ผู้ศึกษาเคยทราบในตอนต้นมาบ้างแล้วว่า คำนี้จัดเป็นส่วนหนึ่ง ของนามศัพท์ ซึ่งมีลักษณะใช้แทนคำนามนามทั้งสอง (สาธารณะ และ อสาธารณะ) หรือข้อความต่าง ๆ ที่เคยออกชื่อ และเข้าใจ กันอยู่แล้ว ถ้าเราจะแยกคำ สัพพนาม นี้ออก ก็จะได้ สพฺพ แปลว่า "ทั้งปวง" คำหนึ่ง, นาม แปลว่า "ชื่อ" คำหนึ่ง, เมื่อรวมเข้า เป็นสมาส ก็แปลว่า "คำที่เป็นชื่อทั้งปวง " คือหมายความว่าเป็น คำแทนชื่อ เพื่อให้ทราบถึง นามนาม ที่เคยกล่าวมาแล้ว, หากไม่ มีคำประเภทนี้ไว้ใช้ เนื้อความก็ดี คำพูดก็ดี จะซ้ำ ๆ ซาก ๆ จน น่าเบื่อหู ดังจะเห็นได้ในประโยคตัวอย่างนี้ว่า "นายดำ ไปหานาย ขาว นายดำถามนายขาวว่า ทำไมนายขาวไม่ไปเที่ยวบ้านนายดำ บ้าง เดี๋ยวนี้ที่บ้านนายดำสนุกมาก"ดังนี้ ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตการ ใช้ถ้อยคำซ้ำซาก เช่นนั้น จะขัดหูผู้ฟัง ผู้อ่าน หรือไม่ ถ้าเป็นจริง อย่างที่ว่าแล้ว ควรจะเปลี่ยนถ้อยคำสำนวนเสียใหม่ ว่า "นายดำ ไปหานายขาว แกถามเขาว่า ทำไม คุณไม่ไปเที่ยวที่บ้างผมบ้าง เดี๋ยวนี้ที่นั้นสนุกมาก" ดังนี้ คำว่า แก เขา คุณ ผม นั้น ทั้ง ๕ คำนี้ปรากฏขึ้นในประโยคตัวอย่างข้างหลัง เพื่อจะตัดคำนาม นามที่ซ้ำกันออกเสีย และคงไว้ที่จำเป็น คำชนิดนี้แหละบาลีไวยากรณ์ เรียกว่า สัพพนาม แต่ทางฝ่ายภาษาไทย เรียกว่าคำแทนชื่อดังกล่าว ๑. สัพพนาม พระครูมงคลวิลาส (ลัก โกสโล) วัดราชาธิวาส เรียบเรียง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More