การบูชาบุคคลในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ เล่ม 1  หน้า 55
หน้าที่ 55 / 280

สรุปเนื้อหา

การบูชาบุคคลในพระพุทธศาสนาเรียกว่า 'การเช่นสรร' มีผลดีและมีประโยชน์ในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่สมควร เมื่อเห็นคุณงามความดีของผู้อื่นแล้ว ควรสนับสนุนและประกาศให้โลกรู้ ผู้ที่มีความเห็นว่าการเช่นสรรไม่มีผล ถือว่ามีมิจฉาทิฏฐิ ในขณะที่การที่เห็นว่ามีผล ถือว่ามีสัมมาทิฏฐิ การสนับสนุนและประกาศคุณความดีของผู้อื่นจะทำให้เกิดความสุขและรู้สึกถึงคุณค่า นอกจากนี้ การเห็นความดีของผู้อื่นยังสะท้อนถึงจิตใจที่อบอุ่นและมุทิตาจิต ท้ายที่สุด การเห็นคุณค่าและการแสดงความยินดีนี้จะทำให้สังคมนั้นมีความเจริญ

หัวข้อประเด็น

-การบูชาบุคคล
-ความเชื่อในพระพุทธศาสนา
-การทำบุญอุทิศส่วนกุศล
-มิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ
-คุณค่าของการสนับสนุนผู้อื่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระวจนวร วิริยะคุณ (ทัตติวิโร ภิกขุ) มินะนันก็อาจจะเชิญชวนเพื่อนฝูง ญาติิมิตร มาร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน ประกาศคุณงามความดีของท่านให้โลกรู้เป็นต้น ในพระพุทธศาสนาเรียกการนำดอกไม้ รูปเทียน หรือสิ่งของที่เหมาะสมไปสักการบูชาบุคคลว่า "การเช่นสรร" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า "การเช่นสรรมีผล" คือผลดีมีประโยชน์ ควรทำอย่างยิ่ง ใครก็ตามที่เห็นว่า "การเช่นสรรไม่มีผล" คือไม่มีประโยชน์ ไม่จำเป็นต้องทำ ความเห็นผิดของเขาชื่อว่า "มิจฉาทิฏฐิ" ในทางตรงข้าม ใครก็ตามที่เห็นว่า "การเช่นสรรมีผล" ความเห็นถูกของเขาชื่อว่า "สัมมาทิฏฐิ" สรุป สาระสำคัญเกี่ยวกับการบูชาบุคคลที่ควรบูชา ก็ คือความเห็นว่าการบูชาบุคคลที่ควรบูชา มีผลดี (การเช่นสรรมีผล) เป็นสภาพของใจคนที่อบอุ่น "มุทิตาจิต" กล่าวคือ เมื่อเห็นใครได้ดี มีความสุขมีความเจริญก้าวหน้า รู้เรื่องด้วยศักดิ์ จะสุขว่าตนหรือไม่ก็ตาม จะนิ่งเฉยอย่าได้ใจไม่ต้องไปแสดงความยินดีกับเขา หรือเมื่อเห็นว่าใครเป็นคนดี ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ก็จะสนับสนุนยกย่อง ประกาศคุณความดีของเขาให้โลกรู้ ถ้าไม่ทำเช่นนั้น จะรู้สึกผิด เสมือนหนึ่งว่าตนไม่เห็นคุณค่า แนวคิดในการปฏิบุนุษย์ 55
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More