อาชีพและกรรม: วิถีแห่งการทำงานที่ถูกต้อง คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ เล่ม 1  หน้า 213
หน้าที่ 213 / 280

สรุปเนื้อหา

พระภาวนาวิริยคุณ (ทัตติไว ภิกขุ) เน้นว่าผู้ค้าขายที่ทำผิดศีลสามารถนำความชั่วมาสู่ตนเองได้ รวมถึงอาชีพต้องห้ามที่ส่งผลร้ายในอนาคต หากไม่กลับตัวจะต้องพบกับวิบากกรรมในโลกหน้า. การประกอบอาชีพต้องเป็นอาชีพถูกต้องตามหลักศีลธรรม และต้องดำเนินการด้วยความขยันหมั่นเพียร เพื่อป้องกันไม่ให้ความเกียจคร้านเป็นอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมายชีวิต. การพัฒนาความรู้และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้สามารถตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการทำงานด้วยจิตที่สูงจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-กรรมและอาชีพ
-ความขยัน
-ความรู้และเทคโนโลยีใหม่
-ศีลธรรมในการทำงาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระภาวนาวิริยคุณ (ทัตติไว ภิกขุ) ผู้ค้าขายก็เป็นต้นเหตุให้ผู้อื่นทำผิดศีล ผู้ประกอบอาชีพต้องห้าม อาจจะมีโอกาสมั่งร่วมใน ชาตินี้ แต่ถ่าคิ of เขาก็ถือว่าเป็นกรรมชั่ว ถ้าเขายังไม่ ประสบวิบากของกรรมชั่วในโลกนี้ เขาก็ต้องประสบในโลก หน่อยางไม่มีทางเลี่ยง นั่นคือการไปบังเกิดในอบายภูมิ เพื่อ รับโทษทัณฑ์เป็นเวลานานนับด้วยแสนด้วยล้านปี ๒) ต้องประกอบอาชีพสูงจิตด้วยความขยันมั่นเพียร อาชีพสูงจิตหมายถึง อาชีพอะไรก็ได้ไม่ใช่อาชีพต้องห้าม แต่ ก็ต้องดำเนินไปโดยสุจริต ต้องไม่มีการกระทำทุจริตด้วยวิธี การต่างๆ เช่น การคดโกง หลอกลวง ปลอมแปลง เป็นต้น เพราะ การกระทำทุจริตอิ่มเป็นการผิดศีล เป็นกรรมชั่ว ขณะเดียวกันก็ต้องทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร ต้องไม่เกียจคร้าน เพราะคนเกียจคร้าน ย่อไม่สามารถทำงานใดๆ ได้สำเร็จ นั่น คือไม่สามารถตั้งตัวให้เป็นหลักฐานมั่นคงได้ จึงไม่มีทางที่จะ บรรลุเป้าหมายชีวิตแม่เพียงระดับต้นได้เลย ๓) ต้องมั่นเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัย หมายถึงการ หมุนขวนขวายหาความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ไว้ในการ ทำงาน ทั้งด้านการบริหาร การผลิต และการบริการ เพื่อให้ ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา เพื่อให้สามารถ ทำงานได้อย่างรวดเร็ว ได้ปริมาณผลผลิตสูงสุด มีคุณภาพดีที่สุด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More