การปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิต คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ เล่ม 1  หน้า 209
หน้าที่ 209 / 280

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการปฏิบัติธรรมทั้งสองระดับในชีวิต โดยเฉพาะเหตุผลที่ต้องปฏิบัติในขณะที่ชีวิตยังมี ซึ่งรวมถึงความไม่แน่นอนของความตายและการสั่งสมบุญเพื่อนำไปสู่อสรรคสวรรค์ การทำความดีและรักษาศีลนำมาซึ่งความสงบและความรู้สึกของความบริสุทธิ์ในใจ การปฏิบัติธรรมที่มีความต่อเนื่องจะทำให้ผู้ปฏิบัติมีใจที่มั่นคงและสุข ซึ่งจะส่งผลดีต่อชีวิตทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติธรรม
-เป้าหมายชีวิตระดับที่ ๑
-เป้าหมายชีวิตระดับที่ ๒
-ความสำคัญของบุญ
-การจัดการกับความตาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระภาวนาวิริยคุณ (ทัตตชีวา ภิกขุ) หมายชีวิตระดับที่ ๑ คนเราก็จำเป็นต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายชีวิตระดับที่ ๒ ควบคู่กันไปด้วย เป้าหมายชีวิตระดับที่ ๑ นั่นเราจะเห็นผลในชาตินี้ ส่วนเป้าหมายชีวิตระดับที่ ๒ จจะออกผลต่อเมื่อเราละโลกนี้ไปแล้ว เหตุใดจงต้องปฏิบัติทั้ง ๒ วิธีควบคู่กันไป เหตุผลสำคัญที่ต้องปฏิบัติทั้ง ๒ วิธีควบคู่กันไป ก็คือ 1. ความตายเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่มีใครรู้วันตายของตนล่วงหน้า ถ้าคอยให้ตั้งหลักฐานมั่นคงเสียก่อน จึงคิดทำทาน รักษาศีล หรือบางคนคิดว่า คอยให้เกษียณอายุเสียก่อน จึงค่อยเข้าวัดปฏิบัติธรรม บุคคลที่มีความคิดเห็นในทำนองนี้ ถือว่าประมาณเพราะถ้าเขาต้องจบชีวิตในวัยเด็ก หรือวัยหนุ่มสาว หรือจบชีวิตด้วยอุบัติเหตุทั้งๆ ที่ยังไม่หมดอายุขัย เขาก็หมดโอกาสสั่งสมบุญเพื่อไปสู่อสรรคสวรรค์ 2. บุญที่ผ่านมาอ่อนเป็นนิสัยติดตามไปเสมอ การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายระดับกลาง ยอมเป็นการสั่งสมบุญโดยตรง แม้ผู้ปฏิบัติล้มไม่มืพอจักษุที่จะเห็นการเกิดของบุญ แต่ก็สามารถตรองเห็นบุญได้ด้วยตนเอง จากความรู้สึกอิ่มเอิบใจที่ได้ทำความดีมาครบ รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดด้วยสีลสัมปทา ยิ่งถ้าได้เจริญสมาธิภาวนาอยู่เป็นนิจ จนเกิดความสงบและความชุ่มชื่นใจ ไร้ความหงุดหงิดหรือความวิตกกังวล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More