คุณสมบัติที่มีความถึงพร้อมตามหลักธรรม คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ เล่ม 1  หน้า 207
หน้าที่ 207 / 280

สรุปเนื้อหา

พระภวาวีรวิคุณ (ทัตติไว ภิกขุ) กล่าวถึงความสำคัญของการทำกรรมดี และการถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล การสละ และปัญญา การมีศรัทธาช่วยส่งเสริมให้บุคคลเลือกทำกรรมดีและเว้นกรรมชั่ว ขณะที่การถึงพร้อมด้วยศีลเป็นการสังสมบุญและส่งผลให้เกิดความสงบสุข การถึงพร้อมด้วยการสละหมายถึงการยินดีบริจาคทานและตัดความตระหนี่ออกจากใจ ความถึงพร้อมด้วยปัญญาช่วยก่อให้เกิดนิสัยที่ดีและความเข้าใจในพระธรรมคำสอน ซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน สามารถสร้างบุญและนำไปสู่ชีวิตที่มีความสงบได้.

หัวข้อประเด็น

-ความถึงพร้อมในศรัทธา
-การรักษาศีล
-การบริจาคและการสละ
-ความสำคัญของปัญญา
-ผลกระทบของการทำกรรมดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระภวาวีรวิคุณ (ทัตติไว ภิกขุ) เป็นของตน มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ และกรรมย่อมจําแนกสรรพสัตว์ให้ดีงามหรือเลวตามต่างกันไป บุคคลที่ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ย่อมตั้งใจเลือกทำแต่กรรมดี พยายามเว้นกรรมชั่วทุกรูปแบบ 2. ถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสัมปทา) หมายถึงมีการรักษาศีล ๕ ด้วยความบริสุทธิ์บริบูรณ์ พร้อมกันนั้นก็ขวนขวายหาโอกาสรักษาศีล ๘ ด้วย ความถึงพร้อมด้วยศีลเป็นผลเนื่องมาจากความถึงพร้อมด้วยศรัทธา เนื่องจากการรักษาศีลเป็นการสังสมบุญอย่างหนึ่ง จึงเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์และความสงบสุขต่างๆ ก็เกิดตามมา 3. ถึงพร้อมด้วยการสละ (จาคสัมปทา) หมายถึงมีความยินดีในการบริจาคทานแก่บุคคลต่างๆ ในโอกาสต่างๆ บางครั้งตัดใจเสียสละเพื่อส่วนรวม เพื่อพระศาสนา ที่สำคัญคือเพื่อ ตัดความตระหนี่ออกจากใจให้ได้ เพราะถึงพร้อมด้วยศรัทธา ความถึงพร้อมด้วยการสละจึงเกิดขึ้นได้ ยิ่งสละทรัพย์เป็นทานมากเท่าใด บุญก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น 4. ถึงพร้อมด้วยปัญญา (ปัญญาสัมปทา) หมายถึงมีความรู้เข้าใจพระธรรมคำสอนมากพอที่จะก่อให้เกิดความถึงพร้อมด้วยศรัทธา อันนำไปสู่การปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย ถึงพร้อม ความยั่งยืนแห่งคุณสมบัติดี 207
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More