ความเกลียดคร้านในการทำงานและผลกระทบ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ เล่ม 1  หน้า 177
หน้าที่ 177 / 280

สรุปเนื้อหา

พระภาวนาวรวิริยคุณ (ทัตตชีโว ภิกขุ) กล่าวถึงนิสัยและพฤติกรรมของผู้ที่เกลียดคร้านในการทำงาน โดยแบ่งออกเป็น 6 ข้อ ที่แสดงถึงการอ้างความไม่สะดวกต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงาน เช่น การบอกว่าอากาศหนาว ร้อน หรืออ้างเหตุผลอื่นๆ การมีพฤติกรรมเช่นนี้ส่งผลทำให้ไม่สามารถทำงานได้และเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ความฉิบหายในชีวิตของบุคคล บทความนี้จึงช่วยสร้างความตระหนักถึงโทษของอบายมุขในแบบต่างๆ และเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าความเกลียดคร้านมีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร

หัวข้อประเด็น

-พฤติกรรมคนเกลียดคร้าน
-โทษของอบายมุข
-ผลกระทบจากการผัดวันประกันพรุ่ง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระภาวนาวรวิริยคุณ (ทัตตชีโว ภิกขุ) เศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ความเกลียดคร้านในการทำงาน จึงเป็นทางแห่งความฉิบหายอย่างหนึ่งของคนเรา บุคคลที่ชื่อว่าเกลียดคร้านในการทำงาน มีพฤติกรรมอย่างไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสแสดงนิสัยและพฤติกรรมของคนเกลียดคร้านไว้ให้ดู พอเป็นตัวอย่าง ๓ ประการด้วยกัน คือ ๑) มักอ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำงาน ๒) มักอ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำงาน ๓) มักอ้างว่าเย็นแล้ว แล้วไม่ทำงาน ๔) มักอ้างว่ายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำงาน ๕) มักอ้างว่าว่าค่านัก แล้วไม่ทำงาน ๖) มักอ้างว่ากระหายนัก แล้วไม่ทำงาน ใครก็ตามที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ย่อมอ้างต่างๆ ในทำนองเดียวกันนี้ แล้วไม่ทำงาน ก็ยอมแสดงได้อย่างชัดเจนว่าเป็นคนที่มีนิสัยเกียจคร้าน เป็นคนเอาถิ่นไม่ได้ จึงไม่ใช่คนดี จากเรื่องโทษของอบายมุขทั้ง ๖ ประเภทใหญ่ ที่กล่าวมานี้ ท่านผู้อ่านคงจะพบคำตอบด้วยตนเองแล้วว่า ทำไมอบายมุขจึงชื่อว่าเป็นทางแห่งความฉิบหาย บุคคลมีสิ่งมาทีอุจจ์แน่นอยู่ในใจ ยอมตรหหนักถึงโทษภัยร้ายแรงของอบายมุขเป็น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More