กรรมดีและกรรมชั่วในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ เล่ม 1  หน้า 57
หน้าที่ 57 / 280

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาได้อธิบายถึงการทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า "วิบาก" ซึ่งรวมถึงผลของกรรมดีและกรรมชั่ว ตัวอย่างของกรรมดีคือการกระทำที่ไม่ผิดศีลและก่อให้เกิดประโยชน์ ส่วนกรรมชั่วคือการกระทำที่ทุจริตและสร้างทุกข์ให้แก่ตนเองและสังคม. เกณฑ์การตัดสินกรรมดีตามพระพุทธศาสนาคือ "กุศลกรรมบถ ๑๐" ที่ช่วยให้เห็นว่าการกระทำใดถือว่าเป็นกรรมดี

หัวข้อประเด็น

-กรรมดีและกรรมชั่ว
-ผลของกรรม
-วิบาก
-เกณฑ์การตัดสินกรรมดี
-พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระภาวนาวิริยะคุณ (ทัตตชีโว ภิกขุ) ของกรมทั้งดีและชั้วที่ตัวเราเองได้ทำลงไปแล้ว" นั้นเอง มีบางท่านเข้าใจผิดว่า "วิบาก" หมายถึงผลของกรรมชั่วเท่านั้น ขอให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียใหม่ว่า "วิบากของกรรมดี" คือผลของกรรมดี "วิบากของกรรมชั่ว" ก็คือผลของกรรมชั่ว กรรมดี หมายถึงอะไร "กรรมดี" หมายถึง การกระทำโดยสุจริต ทางกาย วาจา ใจ ดังนั้นผู้ที่ทำกรรมดี จึงเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีความคิดสุดจิตคิดอรรถกรรมทำบาปด้วยประกายทั้งปวง แต่ว่ามีความคิดและพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดทั้งกุศลและประโยชน์ทั้งต่อคนเอง ผู้อื่น และสังคมโดยรวม กรรมชั่ว หมายถึงอะไร "กรรมชั่ว" หมายถึง การกระทำโดยทุจริต ทางกาย วาจา ใจ ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมทำผิดศีล ผิดธรรม ผิดกฎหมาย มีความคิดสุดจิต คิดอารมณ์ทำบาปด้วยประกายทั้งปวง เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดทุกข์และโทษทั้งแก่ตนเอง ผู้อื่น รวมถึงสังคมโดยรวม พระพุทธศาสนามีเกณฑ์การตัดสินกรรมดี กรรมชั่ว อย่างไร เกณฑ์ตัดสินว่ากรรมใดเป็นกรรมดี มีชื่อทางธรรมว่า "กุศลกรรมบถ ๑๐" ประกอบด้วยเกณฑ์ ๓ ทาง คือ ทางกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More