การพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านเจตนาบริสุทธิ์ ทาน...ก้าวแรกแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิต หน้า 47
หน้าที่ 47 / 236

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของเจตนาบริสุทธิ์ในการให้ทานเพื่อสร้างความดีงามและสุขใจ นักอ่านจะได้เรียนรู้ว่าการให้ที่มีเจตนาบริสุทธิ์ทำให้เกิดผลดีและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างไร โดยเจตนานั้นต้องมีความบริสุทธิ์ทั้ง ๓ กาล ได้แก่ ปูพุพเจตนา มูลฐานเจตนา และอปรารเจตนา เมื่อมีเจตนาที่ดีในการให้ จะทำให้ชีวิตของผู้ให้และผู้รับดีขึ้น และเกิดความสุขที่แท้จริง ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน.

หัวข้อประเด็น

-เจตนาบริสุทธิ์
-การให้ทาน
-คุณภาพชีวิต
-ความดีงาม
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๕๗ การพัฒนาคุณภาพชีวิต เจตนาบริสุทธิ์ หมายถึง เจตนาของผู้ให้ จะต้องให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งให้เกิดความดีงาม ให้ใส ใสสะอาด ไม่ให้ใครออกมามี อวดรวย อวดดี หรือโอ้อวด อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น เพราะการให้เช่นนั้นจะเป็นการให้มีเจตนาที่เห็นแก่ตัว ทำไปแล้วใจจะไม่สบาย ใจไม่บริสุทธิ์ ในข้อฐจะเห็นว่า การให้ลังสมทบเป็นการให้ทานที่มีผลสูงสุด เพราะผู้ให้ตนเจตนาเห็นแก่ตัวออกไปทั้งหมด ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของการให้ทานอย่างแท้จริง เจตนาบริสุทธิ์เต็มที่ จะต้องบริสุทธิ์ทั้ง ๓ กาล คือ ปูพุพเจตนา หมายถึง เจตนานั้นก่อนที่จะให้ท่าน เช่น ตั้งใจว่าพรุ่งนี้เช้าจะตักบาตร มีความดีใจ ปลื้มใจ ว่าเราจะทำบุญ ด้วยการให้ทาน มูลฐานเจตนา หมายถึง เจตนาในขณะให้ เช่น ในเวลาตักบาตร ก็มีใจเลื่อมใส ยินดีที่ได้ทำ เติมเต็มเต็มใจถวายทานนั้น ทั้งไม่ยอมให้สรณุขุ่นมัวเกิดขึ้น ในขณะทำเลย อปรารเจตนา หมายถึง เจตนาหลังจากที่ให้แล้ว เช่น หลังจากตักบาตรเรียบร้อยแล้ว มีแต่ความชื่นบานใจ นักถึงบุญเมื่อใด ก็มีความสุขใจเมื่อนั้น ไม่มีความร้อนใจ นึกเสียายสิ่งที่ให้ไปแล้ว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More