สัปปุริสทานและการให้ทานในพระพุทธศาสนา ทาน...ก้าวแรกแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิต หน้า 114
หน้าที่ 114 / 236

สรุปเนื้อหา

ทานของสัตบุรุษ ๔ ประการ ประกอบด้วยการให้ด้วยศรัทธา ความเคารพ ตามภาค และจิตอนุสราห์ รวมถึงการให้โดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ทานด้วยศรัทธาคือเชื่อในกรรมและผลของกรรม และการให้ด้วยความเคารพเกี่ยวข้องกับการแสดงความอ่อนน้อมในการให้ รวมถึงทิฏฐิอาการในการถวายทาน

หัวข้อประเด็น

- สัปปุริสทาน
- การให้ทาน
- พระพุทธศาสนา
- ศรัทธา
- ความเคารพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทาน...กาวแห่ง... สัปปุริสทาน อย่างที่ ๒ ยังมีการให้ของคนดีอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในที่เดียวกัน คือ ทานของสัตบุรุษ ๔ ประการ ประกอบด้วย ๑. ให้ทานด้วยศรัทธา ๒. ให้ทานโดยความเคารพ ๓. ให้ทานตามภาค ๔. ให้ทานด้วยจิตอนุสราห์ ๕. ให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น สัปปุริสทานให้ทานด้วยศรัทธา คืิอให้ด้วยความเลื่อมใส ในกรรมและผลของกรรมว่า ทำดีย่อมได้ผลดี ทำชั่วก็ได้ผลเป็น ทุกข์ เดือดเนื้อร้อนใจ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน คือ เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำ และเชื่อในปัญญาเครื่องตรัสของ พระพุทธเจ้าว่า คนเราจะบริษุทธิได้ ด้วยการประกอบความดีด้วย กาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์มิก จะสามารถเข้าถึงธรรมะภายใตน ซึ่ง มีอยู่แล้วในสรรพสัตว์ทั้งหลายได้ การน้อมนำธรรมะของพระพุทธ- เจ้า มาปฏิบัติจะทำให้ตนมีความบริสุทธิ์ขึ้น จนขึ้นตรัสรู้ธรรมได้ ๒. สัปปุริสทานให้ทานด้วยความเคารพ คืิอเคารพใน ตัวบุคคล มีความอ่อนน้อม เช่น การยกประเคนด้วยมือทั้งสอง เป็นต้น รวมทั้งให้ด้วยทิฏฐิอาการที่เคารพในทาน เช่น ยกขึ้นจบเหนือหัว แล้วจึงให้ เป็นต้น (๑) พระไตรปิฎก บาลีสุนทรวัด เล่ม ๒๒ ข้อ ๑๔๘ หน้า ๑๗๒
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More