ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรร
อานิสงส์ถวายอาหารบิณฑบาต
๓๕๖
เธอมีชื่อว่า นันทา มีรูปงามน่าดูน่าชม จึงได้รู้กันทั่วไปว่า อภิรูป
นันทา เมื่อเธอเจริญวัยขึ้น ศากยกุมารผู้เป็นคนรักยิ่งของ
พระนางได้สิ้นพระชนม์ในวันหมั้นนั่นเอง พระชนกชนนีจึงให้
เธอบวช ทั้งๆ ที่พระนางไม่อยากจะบวช แต่ด้วยความเกรงใจ
พระชนกชนนี จึงออกบวชในสำนักของนางภิกษุณี
ภิกษุณีอภิรูปนันทานั้นแม้บวชแล้ว ก็ยังมีนิสัยฆราวาส
ยังรักสวยรักงาม ไม่ยอมเดินทางเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา
เพราะกลัวพระบรมศาสดาจะเทศนาเกี่ยวกับเรื่องสังขารร่างกาย
ทรงเข้าใจไปเองว่า พระพุทธองค์ทรงตำหนิติเตียนรูป แม้พระ
บรมศาสดาก็ทรงรอคอยจนญาณของพระนางแก่กล้า จึงทรง
สั่งพระมหาปชาบดีว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงมารับโอวาทตาม
ลำดับเมื่อถึงวาระของตน พระนางนันทาก็ไม่ยอมไป กลับส่ง
ภิกษุณีรูปอื่นไปแทน
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสั่งกำชับอีกว่า “เมื่อถึงวาระ
ภิกษุณีจึงไปด้วยตนเอง ไม่พึงส่งรูปอื่นมาแทน” พระเถรีจึงไม่
อาจละเมิดคําสั่งของพระบรมศาสดาได้ จึงไปปฏิบัติบำรุงพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย เมื่อไปถึงก็ไม่ยอม
เข้าใกล้ ได้หลบไปนั่งอยู่ข้างหลัง เพราะกลัวว่า พระพุทธองค์
จะทักและติเตียนเรื่องที่ตนเองยึดติดในความสวยความงาม