ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 2
พรหมวิหาร 4
พรหมวิหารเป็นหลักปฏิบัติที่มีการปฏิบัติอย่างแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน แต่ก็
มีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ดังนั้นในบทเรียนนี้จึงได้นำเอาหลักการปฏิบัติ
พรหมวิหารโดยยึดตามแบบแผนในคัมภีร์ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติตามที่
โบราณจารย์ได้แนะนำไว้ และในขณะเดียวกันก็นำหลักปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
มาศึกษาด้วยเพื่อจะได้เชื่อมโยงนำการเจริญพรหมวิหารมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อการปฏิบัติให้
เข้าถึงพระธรรมกาย
2.1 ความเป็นมา
ในอรรถกถาพระไตรปิฎกมีหลายแห่งกล่าวไว้ว่า พรหมวิหาร 4 เป็นข้อปฏิบัติที่
พระโพธิสัตว์ในอดีตเคยปฏิบัติมาแล้ว และด้วยผลของการเจริญพรหมวิหารนั้นทำให้ไปบังเกิด
ในพรหมโลก การปฏิบัติเหล่านั้นถ้าไม่เสื่อมไปตามกาลเวลาก็จะต้องตกทอดมาถึงยุคของ
ศาสนาพราหมณ์ซึ่งมีมาก่อนสมัยพุทธกาล แต่วิธีที่แท้จริงคาดว่าได้เลือนหายไปหมดแล้ว
ในเตวิชชสูตร มีพราหมณ์ 2 คน คือ พราหมณ์วาเสฏฐะและพราหมณ์ภารทวาชะ ได้
โต้แย้งกันเรื่องทางปฏิบัติเพื่อไปอยู่ร่วมกับพรหมแต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้จึงพากันไปกราบทูล
ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงข้อปฏิบัตินั้น พระพุทธองค์ทรงอธิบายให้พราหมณ์ทั้งสองทราบว่า
การเจริญพรหมวิหารเป็นทางที่ถูกต้องที่จะบรรลุถึงความไปอยู่ร่วมกับพรหม
ในพระพุทธศาสนา พรหมวิหาร 4 สามารถนำไปสู่พระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุด
แต่ถ้ายังไม่บรรลุถึงขั้นนั้นก็จะได้รับผล คือ ไปบังเกิดในพรหมโลกหลังจากสิ้นชีวิตไปแล้ว ดังที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอานิสงส์ของเมตตาข้อหนึ่งว่า “แม้ไม่ได้มรรคหรือผล ก็ยังมี
พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
การเจริญพรหมวิหารจึงถือเป็นข้อปฏิบัติเพื่อทำให้ถึงสมถะคือใจหยุดทั้งยังเป็นปัจจัย
ให้เข้าถึงพระนิพพานอีกด้วย
1
เตวิชชสูตร, ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 12 หน้า 272.
2
อรกชาดก ทุกนิบาต, มก. เล่ม 57 ข้อ 187-188 หน้า 118.
24 DOU ส ม า ชิ 7 : ส ม ถ ก ม ม ฏ ฐ า น 40 วิธี