การต้องได้มาซึ่งผัสสาหารและการพิจารณาธรรม MD 407 สมาธิ 7  หน้า 122
หน้าที่ 122 / 149

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอการพิจารณาผัสสาหารที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ดุจโคที่ไม่มีหนังหุ้มร่าง ซึ่งต้องมีความระมัดระวังจากภัยต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ตกไปในทุกข์ เหมือนหลุมเพลิงที่คุกรุ่นที่ทุกชีวิตต้องเผชิญ การเกิดในภพทั้ง 3 จึงเปรียบได้กับการตกอยู่ในกับดักของมาร ที่หลอกล่อให้มนุษย์ลวงตามความสุขชั่วคราว ขณะเดียวกันการค้นหาพระนิพพานจึงควรเป็นเป้าหมายหลัก เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดใหม่และทุกข์ที่ไม่สิ้นสุด.

หัวข้อประเด็น

-ผัสสาหาร
-การเกิดและการตาย
-การค้นหาพระนิพพาน
-อันตรายของการเกิดในภพทั้ง 3
-การหลีกเลี่ยงมารและทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อจะต้องได้มาซึ่งผัสสาหาร เช่น ตามองเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ รับรส กายได้สัมผัสถูกต้อง ให้ปลงใจพิจารณาระแวดระวัง ประดุจเป็นโคที่ไม่มีหนังหุ้มร่าง มีแต่เนื้อสดอยู่ทั้งตัว อารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เหมือนเหยี่ยว นกตะกรุม แร้ง กา ที่กำลังจะมาจิกเนื้อตามตัวกิน ธรรมดาโคที่ปราศจากหนัง มีเนื้อตัวอาบไป ด้วยเลือด เมื่อแลเห็นนกที่ชอบกินเนื้อเหล่านั้นบินมาแต่ไกล ย่อมตื่นตระหนก หวาดกลัว เหลียวหน้าแลหลัง หาที่กำบังหลบซ่อน เพื่อป้องกันรักษาตน ให้รอดพ้นจากอันตรายถูกนกร้าย จิกทิ้ง ผู้ปฏิบัติจึงต้องเกรงกลัวผัสสาหาร มีอาการดังโคนั้นระวังรักษาตน สำหรับมโนสัญเจตนาหาร คือกุศลกรรม อกุศลกรรมอันทำหน้าที่ส่งผลให้เกิดตายไม่รู้ สิ้นสุดในภพทั้ง 3 ต้องพิจารณาให้เห็นเป็นประดุจหลุมถ่านเพลิงอันใหญ่ มีเปลวไฟลุกโพลง สรรพสัตว์ทั้งหลายตกลงไปอยู่ในหลุมเพลิงนั้นมีร่างกายถูกเผาไหม้พุพองเป็นเถ้าหาเศษไม่ได้แม้ เท่าฝุ่นธุลี สัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ด้วยกันทั้งสิ้นเหล่านี้ ย่อมตกอยู่ในทุกข์ภัยต่าง ๆ มีชาติทุกข์ เป็นต้นเหมือนภัยจากหลุมถ่านไฟ จึงควรเกรงกลัวการที่ต้องไปเกิดวนเวียนในภพทั้ง 3 ให้เหมือน กลัวการตกลงไปให้ไฟลุกไหม้อยู่ในหลุมถ่านเพลิง วิญญาณาหาร คือปฏิสนธิวิญญาณจิตทั้ง 19 1 พิจารณาให้เห็นเหมือนจิตเหล่านี้ เป็น ดังนักโทษที่ถูกนายเพชฆาตเอาหอกเล่มใหญ่ แทงตรงอกทะลุผ่านตลอดถึงข้างหลัง ได้รับ ความทุกข์ทรมานเจ็บปวดแสนสาหัสอยู่เฉพาะหน้า กำลังรอคอยเวลาตายในไม่ช้า สัตว์ที่ถือ ปฏิสนธิในกำเนิดทั้ง 4 เปรียบได้เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องพบทุกข์ต่าง ๆ และสิ้นสุดลง ที่ความตาย ปฏิสนธินี้จึงเป็นเสมือนดอกไม้ของกิเลสมาร เอามาล่อลวงสัตว์ทั้งหลาย ว่านี่เป็น ดอกไม้หอม เหมือนกิเลสมารล่อลวงปวงสัตว์ว่า การเกิดที่นั้นที่นี้จะมีความสุขมากมายดังนั้น ดังนี้ สัตว์ทั้งหลายพากันหลงเชื่อ จึงพากันประกอบกรรมล้วนแต่เป็นไปเพื่อการเกิดแล้วเกิดอีก ไม่สนใจในพระนิพพานอันเป็นการเลิกเกิด กลับมองเห็นพระนิพพานเป็นของสูญเปล่า ไม่มีค่า ปราศจากความสนุกสบาย เมื่อหลงเล่ห์กลของมาร ตั้งปฏิสนธิขึ้นแล้ว เท่ากับตกอยู่ใต้อำนาจ ของเขา มารนั้นก็ได้โอกาสปล่อยทุกข์ภัยต่าง ๆ มีชราทุกข์ พยาธิทุกข์ เข้ารุกโรมโจมตีจนตั้งตัว ไม่ทัน พ่ายยับเยินลุกไม่ขึ้นแล้ว พระยามัจจุราชก็มาฟาดฟันชีวิตินทรีย์ขาดสิ้นดิ้นดับลง ถ้ายัง ปราศจากปัญญา รู้ไม่เท่าทันอยู่อีก ก็จะตั้งปฏิสนธิใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ผู้ปฏิบัติจึงควร พิจารณาเรื่องนี้ให้รู้แจ้งด้วยปัญญา แสวงหาพระนิพพาน ไม่หลงเล่ห์มารอีกต่อไป 1 เป็นจิตในฝ่ายอภิธรรม ท่านกล่าวว่า ประกอบด้วย อุเบกขาสันติรณ 1 อกุศลวิปากจิต อุเบกขา สันติรณ อเหตุกกุศลวิปากจิต 1 มหาวิปากจิต 8 รูปาวจรวิปากจิต 5 อรูปาวจรวิปากจิต 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา DOU 113
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More