ข้อความต้นฉบับในหน้า
อุปมาที่ 2
มณฑปหลังหนึ่งตั้งอยู่ในที่ไม่สะอาด คราวนั้น ชายผู้หนึ่งมาที่นั่น เกลียดที่ไม่สะอาด จึง
โหนอยู่ที่มณฑปเหมือนถูกแขวนไว้ ต่อมาชายคนหนึ่งมาอาศัยเกาะที่ชายคนแรก ต่อมามีชาย
อีกคนหนึ่งมาถึง และคิดว่า “ชายคนที่เกาะมณฑปและชายคนที่เกาะอาศัยชายคนแรกนั้น ย่อม
ลำบากและอาจจะตกจากมณฑปแน่ เราจะอยู่ข้างนอกนี่ล่ะ” ชายคนที่สามนี้ ไม่อาศัยเกาะใครๆ
แต่ยืนอยู่ข้างนอกมณฑป ต่อมามีชายอีกคนหนึ่งมาพบเข้า จึงคิดว่า “เราอาศัยชายคนที่ยืนอยู่
ข้างนอกดีกว่า”
เหตุการณ์ของชายทั้ง 4 นี้ เปรียบเสมือนอรูปฌานทั้ง 4 ดังนี้คือ
อากาสานัญจายตนฌาน มีอากาศเป็นอารมณ์ เพราะเกลียดรูปนิมิต เหมือนชายคนที่
เกาะมณฑปโหนอยู่ เพราะเกลียดที่ที่ไม่สะอาด
วิญญาณัญจายตนฌาน ปรารภอากาสานัญจายตนะ ที่มีอากาศเป็นอารมณ์ เปรียบ
เหมือนชายคนที่อาศัยเกาะชายที่เกาะมณฑป
อากิญจัญญายตนฌาน ไม่ทำอากาสานัญจายตนะ ให้เป็นอารมณ์ แต่เอาความไม่มี
วิญญาณนั้นเป็นอารมณ์ เปรียบเหมือนคนที่คิดเห็นความไม่ปลอดภัยของชายทั้งสองคนนั้น
จึงไม่อาศัยเกาะทั้งสองคน แต่ยืนอยู่ข้างนอก
การที่ชายคนที่สี่ไปแอบอิงคนที่สามอยู่นั้น มิใช่เห็นว่าดี เพียงแต่ไม่สามารถหาผู้อื่นได้
ดีกว่านั้นเปรียบกับการปฏิบัติเพื่อให้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานแม้จะเบื่อหน่ายในอารมณ์
ของอากิญจัญญายตนฌานแต่ก็ต้องนำมาใช้เพราะไม่มีสิ่งอื่นมาใช้แทนดุจประชาชนจำต้องอาศัย
พระราชาที่ไม่ดี เพราะต้องเลี้ยงชีพ เนวสัญญานาสัญญายตนะจำต้องทำอากิญจัญญายตนะ
ที่มีโทษปรากฏอยู่ว่าสมาบัตินี้มีข้าศึกคือวิญญานัญจายตนมาเป็นฐานให้เป็นอารมณ์ เพราะ
ไม่มีอารมณ์อื่น เปรียบเหมือนประชาชนเมื่อไม่สามารถเลี้ยงชีพในประเทศอื่นได้ ก็ต้องอาศัย
พระราชาองค์หนึ่งซึ่งไม่สนใจในศีล มีความประพฤติทราม เมื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ไม่ได้อารมณ์อื่นก็จำต้องทำอากิญจัญญายตนะ แม้มีโทษปรากฏอยู่ให้เป็นอารมณ์เช่นกัน
เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ย่อมเกาะเอาอากิญจัญญายตนะไว้ เพราะไม่มีอะไรจะเกาะเหมือน
คนขึ้นบันไดยาว ถึงขั้นบนแล้วย่อมยึดหัวบันไดไว้ เพราะไม่มีอะไรจะยึด เหมือนคนขึ้นเขาดิน
ปนหินถึงที่สุดแล้วก็ยึดยอดมันไว้เพราะไม่มีอะไรจะยึด หรือเหมือนคนขึ้นเขาโขดหินถึงที่สุดแล้ว
ก็ยันเข่าของตนไว้เพราะไม่มีอะไรจะยึดยันเช่นกัน
อ รู ป กั ม ม ฏ ฐ า น
DOU 99